การรับรู้ภาพลักษณ์ แรงจูงใจ และกระบวนการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ อ่อนยั่งยืน นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาพลักษณ์, แรงจูงใจ, การรับรู้ตราสินค้า, กระบวนการตัดสินใจ, โรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงเรียนสอนดนตรีที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรดนตรีกับโรงเรียนสอนดนตรีในเขตภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติ สถิติ F-test/One-Way ANOVA และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

         ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36-45 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 45,000 บาทขึ้นไป มีการรับรู้ภาพลักษณ์ โดยรวม มีค่าเฉลี่ย 3.97 อยู่ในระดับมาก มีแรงจูงใจและมีกระบวนการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนสอนดนตรี โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

          ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน ได้แก่ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และวิชาที่เรียน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ แตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และวิชาที่เรียน มีแรงจูงใจ แตกต่างกัน

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ฉัตรชัย สุขนิยม และ นิภาพร เฉลิมนิรันดร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาในวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13. หน้า 1854-1868.

ณิชา แสนไชย. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนในการซื้อคอร์สเรียนดนตรีต่อเนื่องในโรงเรียนดนตรีเอกชน กรุงเทพมหานคร การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์. (2560). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

นภัสสร พวงเกษ. (2558). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนาจังหวัดระยอง ตามการรับรู้ของผู้ปกครอง (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุปผา พุกจําปา. (2553). แรงจูงใจในการเลือกเรียนแผนการเรียนสาขาพาณิชยกรรม ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม) (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวีณา ลาสงยาง. (2560). แรงจูงใจของผู้ปกครองต่อการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-1_1510810604_is-bkk7-sec11-0058. pdf

พัชนี เชยจรรยา และคณะ. (2543). ทฤษฎีแม่บททางนิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุกดา แจ้งสนิท. (2566). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการจัดการประสบการณ์ลูกค้าและการตัดสินใจใช้บริการคลินิกทันตกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัญชีปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 142-159.

ลฎาภา ชัยตระกุลทอง. (2567). ความต้องการ แรงจูงใจ และการรับรู้ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์. วารสารบัญชีปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1), 49 - 66.

ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์. (2558). Principles of Marketing. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สเตรนเจอส์ บุ๊ค.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สมุทร ชำนาญ. (2561). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามการรับรู้ของผู้ปกครองนักเรียน (การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาดา สุขบารุงศิลป์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุดปมา พันธ์สะอาด. (2562). การตัดสินใจเลือกโรงเรียนสอนเต้นและดนตรีของยุวชนในเขตกรุงเทพมหานคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 255-268.

Boulding, K.E. (1975). The Image : Knowledge in Life and Society. Michigan : The University of Michigan.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.

Guralnik, David B. (1986). Webster’s New World Dictionary of America Language. Cleveland, Ohio : Prentice-Hall Press.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14 th ed). New Jersey : Prentice-Hall.

Needham, B.I.& Laforge R.W. (2005). Marketing: Principles and perspectives. Boston MA: McGraw-Hill Irwin.

Prachachat. (2566). ม.มหิดล เปิดหลักสูตร ป.ตรีควบโท นักดนตรีผู้ประกอบการ เรียน 4 ปีครึ่ง. https://www.prachachat.net/education/news-1216780 [2024, 10 June].

Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994). Consumer Behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2024