ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชอนันต์ บังกิโล สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อนันตสิทธิ์ ออนตะไคร้ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • กาญจนา ก้อใจ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ความจงรักภักดีของลูกค้า, การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นทางด้านการเงินบนโทรศัพท์มือถือในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านคิวอาร์โค้ด จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.4)  มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 42.7) อาชีพนิสิต/นักศึกษา (ร้อยละ 38.4) ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ร้อยละ 65.3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท (ร้อยละ 54.5) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการชำระเงินผ่าน คิวอาร์โค้ด ได้แก่ ปัจจัยด้านความตั้งใจใช้ของลูกค้า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นและความปลอดภัย และปัจจัยด้านความง่ายของการใช้บริการ อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยง และปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ไม่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด

References

จิญาดา แก้วแทน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สมาร์ตโฟน: กรณีศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชัญญาพัทธ์ จงทวี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัชญ์ธนัน พรมมา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจลูกค้า. กรุงเทพฯ: ประชุมทองพริ้นติ้งกรุ๊ป.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางปฏิบัติในการจัดทำ Quick Response Code (QRCode) สำหรับการชำระเงินและการโอนเงิน. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2560, จากhttp://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2560/ThaPDF/25600086.pdf

น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี และคนึงนิตย์ หนูเช็ก. (2559). การศึกษาโมเดลความต้องการสารสนเทศบนอุปกรณ์เคลื่อนที่: บริบทของการนวด-สปาบำบัดโรค. วารสารวิทยาการจัดการ,3(2).

น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี และเยาวลักษณ์ ตระกูลเมฆี. (2558). การตรวจสอบหาปัจจัยของความตั้งใจใช้คู่มือการท่องเที่ยว บนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วารสารวิทยาการจัดการ, 2(1), 32-51.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พัชรียา สุตา. (2555). การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

พรชนก พลาบูลย์. (2558). การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของรัฐบาลไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

วรวัจน์ สุวคนธ์. (2557). ทัศนคติหมายถึงอะไร. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/583317

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ajzen, I. (1991). The theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211

Aldás-Manzano, J., Lassala-Navarré, C., Ruiz-Mafé, C. & Sanz-Blas, S. (2009). The role ofconsumer innovativeness and perceived risk in online banking usage. International Journal of Bank Marketing, 27(1), 53-75.

Chong, A. Y.-L., Chan, F. T. S., & Ooi, K.-B. (2012). Predicting consumer decisions to adopt mobile commerce: Cross country empirical examination between China and Malaysia. Decision Support Systems, 53(1), 34-43.

Comber, R. & Thieme, A. (2013). Designing beyond habit: Opening space for improved recycling and food waste behaviors through processes of persuasion, social influence and aversive affect. Personal and Ubiquitous Computing, 17(6).

doi: 0.1007/s00779-012-0587-1

Kelman, H. C. (1974). Further thoughts on the processes of compliance, identification, and Internalization perspectives on social power. Chicago: Aldine.

Kanchanatanee, K., Suwanno, N. & Jarernvongrayup, A. (2014). Effects of attitude toward using, Perceived Usefulness, perceived ease of use and perceived compatibility on intention to use E-marketing. Journal of management Research, 6(3), 1-13.

Liu, C.-J., & Chuang, Y.-F. (2015). From sluggish to brisk: An analysis of Taiwan׳s cable TV digitalization policy. Telecommunications Policy, 39(11), 980-995.

Oliver, Richard L. (1999). Whence Consumer Loyally. Journal of Marketing, 63, 33-44.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of Innovations (5th ed.). New York: Free.

Schierz, P. G., Schilke, O. & Wirtz, B. W. (2010). Understanding consumer acceptance of mobile payment services: An empirical analysis. Electronic Commerce Research and Applications, 9(3), 209-216.

Wang, Y. S., Wu, S. C., Lin, H. H., Wang, Y. M. & He, T. R. (2011). Determinants of user adoption of web ATM: an integrated model of TCT and IDT. Service Industries Journal, 99(1), 1-21.

White, K. M., Smith, J. R., Terry, D. J., Greenslade, J. H. & McKimmie, B. M. (2009). Social influence in the theory of planned behavior: The role of descriptive, injunctive, and in-group norms British. Journal of Social Psychology, 48(1), 135-158.

Wilson, J. &Tingle, J. (1999). Clinical Risk Modification. Oxford: Butterworth-Heinemann.

Xue, L., Yen, C. C., Chang, L., Chan, H. C., . . . Choolani, M. (2012). An exploratory study of ageing women’s perception on access to health informatics via a mobile phone-based intervention. International Journal of Medical Informatics, 81, 637-648.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-03-2024