ความต้องการ แรงจูงใจ และการรับรู้ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ลฎาภา ชัยตระกุลทอง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

ความต้องการ, แรงจูงใจ, การรับรู้ตราสินค้า, การตัดสินใจ, หลักสูตรแพทย์แผนไทย, ระบบออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ แรงจูงใจ และการรับรู้ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ (survey research) เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว (one-shot case study) โดยศึกษากับผู้เรียนที่เคยเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 400 คน ที่อยู่ในกลุ่มสมาชิกแพทย์แผนไทยจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (quota sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติพรรณนา และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ

         จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.00 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 29.25 ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.00 ประกอบอาชีพอิสระ ร้อยละ 23.50 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 36.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการเรียนสาขานวดไทย ร้อยละ 32.00 และมีความต้องการเรียนผ่านแพตฟอร์ม โดยบันทึก VDO สามารถดูย้อนหลังได้ ร้อยละ 26.25 มีแรงจูงใจในการเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การรับรู้ตราสินค้าหลักสูตรแพทย์แผนไทย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีการตัดสินใจเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

         ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า 1) ผู้เรียนที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีความต้องการเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ แตกต่างกัน 2) ผู้เรียนที่มีความต้องการเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ความถี่ในการเรียน/สัปดาห์ ระดับราคา และระดับความต้องการเรียนแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ แตกต่างกัน ในขณะที่สาขาการแพทย์แผนไทย เนื้อหาหลักสูตร และวันในการเรียนที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 3) การรับรู้ตราสินค้าในการเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทย มีผลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยเป็นผลเชิงบวก

          ผลการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยผ่านระบบออนไลน์ และช่วยให้มีทิศทางในการวางแผน การทำการตลาดให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนงานด้านการป้องกันควบคุม โรคและภัยสุขภาพ. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1189320211018081803.pdf.

จุฬาลักษณ์ เทียนรุ่งรัศมี. (2566). ความต้องการและเหตุผลของนิสิตและผู้ปกครองที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์แผนไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(1), 65-75.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

นิชาภา นัคราภิบาล. (2563). อิทธิพลการรับรู้ประโยชน์ความน่าเชื่อถือความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำคอร์สเรียนออนไลน์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิตยา สุภาภรณ์. (2552). การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อความอยู่ดีมีสุขในชุมชนบางไผ่. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ประภากร สุมะโน. (2554). สาธารณสุขเพิ่มอัตรานักการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทั่วไทย. แหล่งที่มา http://www.unigang.com.

พรรณภัทร อินทฤทธิ์. (2563). การศึกษาความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 6(2), 49-64.

พรหมสร เดชากวินกุล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเรียนโรงเรียนกวดวิชาของผู้เรียน ระดับประถมศึกษตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา. (2564). เพราะการศึกษาหยุดไม่ได้ ต่างประเทศเรียนกันอย่างไรในช่วงโควิด-19.แหล่งที่มา https://www.eef.or.th/education-abroad-covid

ศศินา ปาละสิงห์. (2547). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการพลเรือน สายสามัญสังกัด ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). การบริหารสำนักงานแบบใหม่. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ. กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา.

สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). การค้าระหว่างประเทศ. แหล่งที่มา https://www.ditp.go.th

สุชาดา สุขบำรุงศิลป์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิชิต ตั้งตระกูล. (2560). ค่านิยมส่วนบุคคล แรงจูงใจ และความคาดหวังในส่วนประสม ทางการตลาดท่ีส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อภิรัช ประชาสุภาพ. (2565). ตลาดสมุนไพรขยายตัว (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.dpu.ac.th/human-research/upload/content/files/Associate-Ethics-Committee.pdf.

Garner, R.M. (1985). Verbal Report Data on Cognitive and Metacognitive Strategies In Learning and Study : Isue in Assessment, Instruction and Evaluation. New York: Academic.

Sasivongpakdi, K. & Wang, Y. (2014). Measuring and Evaluating Brand Equity. Sweden: School of Sustainable development of society and technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-03-2024