การรับรู้คุณค่าตราสินค้า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การจัดการประสบการณ์ลูกค้า และการตัดสินใจใช้บริการ คลินิกทันตกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้คุณค่าตราสินค้า , ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า , การจัดการประสบการณ์ลูกค้า , การตัดสินใจใช้บริการ , คลินิกทันตกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การจัดการประสบการณ์ลูกค้าและการตัดสินใจใช้บริการคลินิกทันตกรรม เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากรเพศชายและเพศหญิง อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยเป็นผู้ที่ใช้บริการทันตกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ที่อยู่ในกลุ่มแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก จำนวน 4 กลุ่ม โดยการเลือกจากเฟซบุ๊กกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับคลินิกทันตกรรม มีจำนวนสมาชิกมากกว่าหนึ่งหมื่นคน วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ F-test/One-way ANOVA เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรและ Regression analysis เพื่อทดสอบการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 79.5 รองลงมาคือเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 20.5 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี ร้อยละ 40.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 55 มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 38.3 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001 - 35,000 บาท ร้อยละ 31.8 ด้านการรับรู้คุณค่าตราสินค้า คลินิกทันตกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.08 อยู่ในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้ามีค่าเฉลี่ย 4.36 อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้า มีค่าเฉลี่ย 4.14 อยู่ในระดับมาก และการตัดสินใจใช้บริการคลินิกทันตกรรม มีค่าเฉลี่ย 4.14 อยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอายุและรายได้แตกต่างกัน มีการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของคลินิกทันตกรรม ไม่แตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีอายุและรายได้ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดคลินิกทันตกรรม แตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน มีการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้าของคลินิกทันตกรรม แตกต่างกัน 4) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าคลินิกทันตกรรมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการของคลินิกทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กนกวรรณ ทองรื่น. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามในจังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไข่มุกด์ วิกรัยศักดา และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2562). ความสำคัญของประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจบริการการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดในโลกอนาคต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(2), หน้า 537-555.
จิตราพร ลดาดก. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (TPs) ที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาดคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
เฉลิมธิดา จันทร์ดี. (2564). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ และความจงรักภักดีต่อตราสินค้าในธุรกิจคลินิกความงามด้านผิวพรรณ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์ รอดอย่างไร ในยุคโควิด-19 (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 6 ตุลาคม 2564 จาก: https://www.bangkokbiznews.com/social/964164
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2549). การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
วิลาสินี พุทธิการันต์. (2559). ผู้นำการบริหาร CRM มิติใหม่. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
วศินี จรรยานุกูล. (2566). การศึกษาความมีอิทธิพลของการบริหารประสบการณ์ลูกค้าด้านต่างๆ ต่อพฤติกรรมการบอกต่อของผู้ใช้บริการคลินิกกายภาพบำบัดในประเทศไทย. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand management. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ลิฟ.
ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล วลัยพร ราชคมน์ และวรัญญา เขยตุ้ย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการทางทันตกรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศศินา ลมลอย และคณะ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คลินิกเสริมความงาม ด้านผิวพรรณของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2563). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวนีย์ ลายวิเศษกุล (2556). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกคลินิกทันตกรรมจัดฟันของผู้รับบริการในเขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
วิทยา มานะวาณิชเจริญ. (2566). ตลาดคลินิกทันตกรรม- ตอนที่ 1.สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2566 จาก: https://haamor.com/ตลาดคลินิกทันตกรรม-1.
Aaker, D. A. (1991). Build Brand. London: The Free
Kotler,Philip. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
. (2003). Strategic Marketing for Nonprofit Organizations. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Kotler, Philip.; & Keller, Kevin L. (2006). Marketing Management (12th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
. (2009). Marketing Management (13th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W.J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Philip Kotler. (2003). Marketing Management (11th ed). Upper Sanddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: New York: Harper & Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร