ผลกระทบของสมรรถนะทางเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีต่อประสิทธิผลของกระบวนการสอบบัญชี: หลักฐานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แดน กุลรูป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ดร.ปริยนุช ปัญญา อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วงศ์สิริสถาพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี คำวาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางเทคโนโลยีดิจิทัล, การใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ, กระบวนการสอบบัญชี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของสมรรถนะทางเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้  ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีต่อประสิทธิผลของกระบวนการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  ในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งผ่านระบบออนไลน์เพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจำนวน 136 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะทางเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สอบบัญชีด้านความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเชิงบูรณาการและด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีมีผลกระทบทางบวกกับประสิทธิผลของกระบวนการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตลอดจนการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพมีผลกระทบทางบวกกับประสิทธิผลของกระบวนการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กนกอร แก้วประภา, ยุพดี ศิริวรรณ, เพ็ญศิริ คาจันทร์ษา และอลิสา กี่กระโทก. (2557). การแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีและการสื่อสารคุณภาพของข้อมูล.

Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 6(2), 56-62.

ชุรีรัตน์ ต๊ะตุ้ย, จีราภรณ์ พงศ์พันธ์พัฒนะ และณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2565). ความชาญฉลาดในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 10(1), 41-56.

นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบที่มีต่อผลการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. Ratchaphruek Journal, 16(2), 130-139.

บัวจันทร์ อินธิโส, สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์, และ สุธนา ธัญญขันธ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนา ตนเองกับความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. Journal of Accountancy and Management, 1(1), 118-129.

วริยา ยอดปน และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). ปัจจัยในยุคดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการสอบบัญชีและความน่าเชื่อถือของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 8(10), 247-260.

ยุพิน มีใจเจริญ. (2564). อิทธิพลจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีต่อพฤติกรรมการสังเกตและสงสัยเยี่ยง ผู้ประกอบวิชาชีพของนักศึกษาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา จังหวัดตาก. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(1), 77-89.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). ข้อมูลติดต่อผู้สอบบัญชี. สืบคืนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566. จาก : https://eservice.tfac.or.th/fap_registration/cpa-contact-list

สวัสดิ์ หากิน และ วรวิทย์ เลาหะเมทนี. (2561). โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระตามความเป็นจริงกับการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและการรายงานอย่างมีจริยธรรม: การศึกษาเชิงประจักษ์จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. Journal of Modern Management Science, 11(2), 25-41.

ศิรินทิพย์ จ้อยพุดซา. (2563). ผลกระทบของคุณลักษณะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อความพร้อมในการทำงานด้านการบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 2(4), 48-48.

Aaker, D. A., Kumar,V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research (7th ed.). New York: John Wiley and Sons

Alchian, A. A., & Demsetz, H. (1972). Production, information costs, and economic organization. The American economic review, 62(5), 777-795.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John

Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

. (1984). Essentials of educational and psychological testing. New York: Harper & Row.

Curtis, E. A. (2006). Business risk audit: a study of the relationship between audit methodology, audit practice and audit standards. (Ph.D.), University of Manchester, e-theses online service of The British Library Board. Retrieved from https://ethos.bl.uk/OrderDetails.do?uin=uk.bl.ethos.492225

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Sizes for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Knechel, R. W. (2000). Behavioral Research in Auditing and Its Impact on Audit Education. Issues in Accounting Education, 15(4), 695-712. doi:10.2308/iace.2000.15.4.695

Nunnally, J. C (1978). Psychometric Theory. New York: Mcgraw-Hill.

Robertson, J. C. (2010). The Effects of Ingratiation and Client Incentive on Auditor Judgment. Behavioral Research in Accounting, 22(2), 69-86. doi:10.2308/bria.2010.22.2.69 %J Behavioral Research in Accounting

Solomon, I., & Trotman, K. T. (2003). Experimental judgment and decision research in auditing: the first 25 years of AOS. Accounting, Organizations and Society, 28(4), 395-412. doi:https://doi.org/10.1016/S0361-3682(02)00023-5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023