การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนา ไก่สวยงามในตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • จิตวิสุทธิ์ ธรรมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  • อรวรรณ เชื้อเมืองพาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วรลักษณ์ วรรณโล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ความเสี่ยง, วิสาหกิจชุมชน, ไก่สวยงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่สวยงาม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิก ของกลุ่มวิสาหกิจวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่สวยงาม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ทั้งหมดจำนวน 10 ราย โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม

        จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านกลยุทธ์ คือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากสมาชิกบางคนอาจจะมีการทำขั้นตอนการเพาะพันธุ์ที่ผิดวิธี สมาชิกยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงจึงทำให้การเพาะพันธุ์เป็นไปได้ช้า ลูกค้าโดยทั่วไปและลูกค้าในชุมชนยังต้องการไก่พันธุ์สวยงาม ทำให้มีราคาค่อนข้างสูงและเป็นการอนุรักษ์ให้ลูกหลานสืบต่อไป ปัจจุบันมีผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ทำให้ลูกค้ามีโอกาสเลือกไก่พันธุ์สวยงามที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้การแข่งขันทางตลาดสูงขึ้นตาม ควรเพิ่มกลยุทธ์เพื่อให้สมาชิกต้องศึกษาพฤติกรรมความนิยมของผู้บริโภคและนำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย

        ปัจจัยเสี่ยงด้านการดำเนินงาน คือไก่เป็นสัตว์ปีกที่สามารถเกิดโรคได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และหากมีภัยพิบัติจากธรรมชาติอาจจะทำให้กระแสไฟฟ้าดับซึ่งเป็นปัญหาในการเพาะเลี้ยงไก่พันธุ์สวยงาม และหากได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตไฟฟ้า เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ประกอบการเพาะเลี้ยงจะทำให้ปัญหาด้านการเลี้ยงลดลง

        ปัจจัยเสี่ยงด้านการเงิน ได้แก่ ราคาอาหารสัตว์และยาสำหรับสัตว์ ราคาค่อนข้างสูง ต่อเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาไก่พันธ์สวยงามและมีความต้องการของตลาดลดลงทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นควรได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากทางภาครัฐ เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนและปลอดดอกเบี้ย ทำให้เกิดกำไรมากขึ้นและสามารถปันส่วนให้สมาชิกได้อย่างเท่าเทียมกัน

          ปัจจัยเสี่ยงด้านกฎระเบียบ ได้แก่ กระบวนการทำงานไม่เป็นไปตามข้อตกลงกันภายในกลุ่ม เนื่องจากการจัดสรรเวลาของสมาชิกยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง

References

กฤษณ์ พานสัมฤทธิ์ (2563). แนวทางการบริหารจัดการในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาดสู่ความสําเร็จของธุรกิจอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ในฟาร์มระบบปิดในประเทศไทย.

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(3). 210-225.

กานต์ธีรา พละบุตร. (2562). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กร: การศึกษาเชิงประจักษ์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเลย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.11(4).60-80

จรรยรัศม์ อินนพคุณและเฉลิมพร เย็นเยือก.(2563).การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาหน่วยงานราชการ อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี.วารสารรัตช์ภาคย์. 14(33).90-104

จตุรภัทร วงศ์สิริสถาพร. (2561).การบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์กร:หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร.11(3). 3279-3330.

วรารัตน์ เขียวไพรี. (2560). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน.งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023