การพัฒนาและศึกษาต้นทุนผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งกล้วยในตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ บุญประกอบ นักวิจัยอิสระ
  • เอกชัย อุตสาหะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • อัครเดช ฉวีรักษ์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ณัฐภัทร พรสันเทียะ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ต้นทุนผลิตภัณฑ์, ความพึงพอใจ, คุกกี้แป้งกล้วย, การกำหนดราคาขาย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งกล้วย และเพื่อศึกษาต้นทุนและการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งกล้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริโภคทั่วไปในตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน กำหนดกลุมตัวอย่างเฉพาะเจาะจง โดยพิจารณาจากความสนใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิตเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งกล้วย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.83) เมื่อนำพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูดได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ มีความเป็นเอกลักษณ์ เนื้อสัมผัสเฉพาะ มีกลิ่นหอมของกล้วย (=4.86) รองลงมาได้แก่ ด้านบรรจุภัณฑ์ มีข้อความแสดงวันผลิตและวันหมดอายุชัดเจน (=4.85) ด้านการส่งเสริมการขาย   มีการจัดโปรโมชั่น ที่น่าสนใจ (=4.83) ด้านช่องทางจำหน่าย มีการขายออนไลน์ผ่านช่องทางเพจ Facebook (=4.83) และด้านราคา มีราคาบอกที่ชัดเจนได้มีความเหมาะสม (=4.79) ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งกล้วย เท่ากับ 422.93 บาท เฉลี่ยถุงละ 26.46 บาท การกำหนดราคาขายเพื่อให้ได้กำไร 20% จากราคาทุน ราคาขายจะต้องไม่ต่ำกว่า 31.75 บาท/ถุง จึงกำหนดราคาขายถุงละ 39 บาท

References

เจิดจันทน์ มุณีบังเกิด (2556). พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565. จาก : https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/8342/1/309355.pd

ณนนท์ แดงสังวาล และคณะ. (2555). การใช้แป้งกล้วยน้ำว้าทดแทนแป้งสาลีในบราวนี่. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49. 66-73.

ณัฐจรีย์ จิรัคคกุล และคณะ. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของผูสูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 16-29.

ณัฐชนนท์ คุณวงศ์ และคณะ. (2560). คุกกี้กล้วยออร์แกนิค. มหาวิทยาลัยสยาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565. จาก : https://e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2020

นรินทร์ เจริญพันธ์. (2557). แป้งกล้วย. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2556). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ปัณณวัชร์ พัชราวลัย. (2558). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารเฉพาะกิจที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พวงชมพู หงส์ชัย และนันทวัฒน์ โลโสดา. (2561). ผลของการทดแทนแป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์ต่อคุณภาพบะหมี่. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 114-122.

พิมพ์ผกา ใจมุข และคณะ. (2564). การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์และการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ชุมชนเนินขาม ตำบลเนินขาม จังหวัดชัยนาท. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(7), 233-243.

มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมลากรอบกรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565.

จาก : http://www.hu.ac.th/conference/conference2013

รัฐพล สังคะสุข และคณะ. (2560). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 38-49.

เรนัส เสริมบุญสร้าง. (2559). การศึกษาด้านการตลาดของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูประยะที่ 1. รายงานการวิจัย ปีงบประมาณ 2543. ทุนวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565.

วรงค์ ภู่ระหงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคขนมอบของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร.มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565. จาก : https://so02.tci-thaijo.orgindex.php/JRKSA/article/view/253125

วิทยา จารุพงศ์โสภณ. (2556). การตั้งราคา. วารสารบริหารธุรกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565. จาก : http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba110/Article/JBA110Witaya.pdf

วิวิศณ์ สุขแสงอร่าม และคณะ. (2566). แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของ My Mon ตําบลไร่สะท้อน อําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 8(1), 99-112.

วิวิศน์ ใจตาบ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ส่วนผสมทางการตลาด. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565. จาก: https://shorturl.asia/xDhYZ

สุชญา อาภาภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่แบบ Take Away ของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565.

จาก : http://lib.rmutk.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=151452

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023