การพัฒนาและออกแบบชุดแฟชั่นผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อัญชลี เท็งตระกูล นักวิจัยอิสระ
  • พัทธมน บุณยราศรัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิศารัตน์ ไชยวงศ์ศักดา อาจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศรายุทธ สาคร นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาและออกแบบ, ความพึงพอใจ, ชุดแฟชั่นผ้าทอไทลื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินการพัฒนาและออกแบบชุดแฟชั่นผ้าทอไทลื้อ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดแฟชั่นผ้าทอไทลื้อ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคที่สนใจผลิตภัณฑ์ผ้าทอในจังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คนและเก็บข้อมูลผลการประเมินนำมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม LGBTQ+ มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า การประเมินผลการพัฒนาและออกแบบชุดแฟชั่นผ้าทอไทลื้อในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.63) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความงามทางศิลปะ (gif.latex?\bar{x}=4.62) รองลงมา ได้แก่ ด้านแบบอย่างและวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x}=4.61) และด้านคุณสมบัติทางวัสดุและเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x}=4.60) ความพึงพอใจที่มีต่อชุดแฟชั่นผ้าทอไทลื้อ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.61) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x}=4.65) รองลงมา ได้แก่ ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด (gif.latex?\bar{x}=4.61) และด้านราคา (gif.latex?\bar{x}=4.56)

References

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2565). กลยุทธ์การตลาด 4Ps และส่วนผสมทางการตลาด. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/Ev5yK

ไพอีซิล เจ๊ะอาแซ. (2562). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการตั้งด่านตรวจจุดสกัด จุดตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. รัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชมภูนุช ขวัญเมือง. (2560). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ฐปนัท แก้วปาน และคณะ. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-182.

ทัศนีย์ บัวระภา. (2560). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดมหาสารคาม. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนา โพธิวรรณ์. (2562). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ศริญญา อารยะจารุ. (2556). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทของใช้จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้แนวคิดในการออกแบบอย่างยั่งยืน กลุ่มทอผ้าลายโบราณบ้านทัพคล้าย จังหวัดอุทัยธานี. ศิลปมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนักบริหารการทะเบียน. (2565). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/a6jQd

สุรีย์วัล เสมอใจ. (2557). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง "เมี่ยง" ผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Mungpattanasunthon Sukamon. (2019). Transforming traditional trade of the hand-woven textile community todigital trade: The case study of Tai Lue group at Toong Mork Village, Chiang Kham, Phayao, Thailand. Journal of Advanced Research in Social Sciences and Humanities, (4)2, 73-79.

Shelly, D. F. (1995). Tackling family member compensation. American Printer, 215, p. 2

Yamane, T. (1970). Statistics; An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023