การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหยจากเก๊กฮวยอบและใบเตยสด จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กานต์ชนา ธุระกิจ นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พิมพกานต์ บุญธรรม นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ภัทรธิดา ธงชัย นักศึกษาสาขาการบัญชี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.วรลักษณ์ วรรณโล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.อัครเดช ฉวีรักษ์ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย, ความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหยจากเก๊กฮวยอบแห้งและใบเตยสดและศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหยจากเก๊กฮวยอบแห้งและใบเตยสด ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 100 คน การศึกษาใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด โดยมีการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า มีประกอบอาชีพนักเรียน / นักศึกษา มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ส่วนใหญ่ ไม่เคยซื้อน้ำหอมที่ผลิตจากธรรมชาติ

การพัฒนานำวัตถุดิบเก๊กฮวยอบแห้งและใบเตยมาทำน้ำมันหอมระเหย ทำการสร้างกลิ่นใหม่ สร้างให้เอกลักษณ์เฉพาะตัว พบว่าผู้บริโภคต้องการว่าจะซื้อแบบขนาด 8 ml.  ราคา 69 บาท โดยคิดเป็นร้อยละ 37.50 จำนวนความต้องการที่จะซื้อ 1 ชิ้น โดยคิดเป็นร้อยละ 48.50 และจะซื้อคือน้ำมันหอมระเหยกลิ่นใบเตยสด คิดเป็นร้อยละ 52.25

ความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.28) เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการใช้งานและด้านช่องทางการจัดจำหน่ายด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x}= 4.33) รองลงมา ได้แก่ ด้านราคาด้านราคา (gif.latex?\bar{x}= 4.32) และด้านลักษณะภายนอกที่ปรากฏน้ำมันหอมระเหยใบเตยสด (gif.latex?\bar{x}= 4.22)

References

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทาง แอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษรา สร้อยระย้า, ชมภูนุช เผื่อนพิภพ, ดวงกมล ตั้งสถิตพร, อัชชา ศิริพันธุ์และประพาฬภรณ์ ธีรมงคล. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป. วารสารการวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,7(1).9-24

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550). “หลักสูตรสถานศึกษา” สารานุกรมวิชาชีพครู: เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

วิภาเพ็ญ เล้าประเสริฐ ธีระ ฤทธิรอด และเทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ (2558). กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของร้านสกุลเพชรสังฆภัณฑ์ ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระ.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2547). หลักการตลาด.กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ท็อป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023