การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง บ้านผาหมี ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • สุชานรี แซ่ย่าง นักวิจัยอิสระ
  • พรกนก บุญเรือง นักวิจัยอิสระ
  • อภิญญา ณ ลำปาง นักวิจัยอิสระ
  • อนิรุทธ์ สงค์ธนาพิทักษ์ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • ธนภัทร กันทาวงศ์ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง บ้านผาหมี ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง บ้านผาหมี  ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริโภคที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง จำนวนทั้งหมด 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง เดิมกระเป๋าใส่หรียญเป็นกระเป๋าที่มีลวดลายไม่เป็นที่โดดเด่น และมีรูปทรงที่เป็นแบบเดียวกัน ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก นั่นคือ ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสแบบซิปรูด คณะผู้วิจัยได้พัฒนากระเป๋าใส่เหรียญให้มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างจากเดิมโดยทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงกลม และทรงสามเหลี่ยม พร้อมกับนำผ้าปักม้ง มาทำเป็นลวดลายของกระเป๋าให้มีความสวยงามร่วมสมัยมากขึ้น สามารถเข้าถึงกลุ่มของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
  2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกระเป๋าใส่เหรียญลายผ้าปักม้ง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 4.28) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ของผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 4.32) รองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้งานของผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 4.30) ด้านราคาของผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 4.27) และด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 4.22)

References

กษิรา ภิวงค์กรู, บุญชู บุญลิขิตศิริและภรดี พันธุภากร (2562).ลวดลายชาติพันธ์ชนเผ่า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกหมู่บ้านกระเหรี่ยง.วารสารมังรายสาร.7(2).123-140

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน.(2561).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับลูกค้าทั่วไปผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์.13(2).51-62

จตุพร เลิศกิจขจรกุล.(2557).การศึกษาและพัฒนากระเป๋าอเนกประสงค์.สถาบันวิชาป้องกันประเทศ.13(1).119 – 132

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550). “หลักสูตรสถานศึกษา” สารานุกรมวิชาชีพครู: เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี .กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน).(2564 มิถุนายน 21). ผ้าปักม้ง เอกลักษณ์ชนเผ่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ. แหล่งที่มา : https://www.sacict.or.th/th/detail/2018-09-14-11-35-v-bZA

สรียา อัชฌาสัย และลักคณา วรศิลป์ชัย. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 3(2). 22 – 37

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023