ต้นทุน ผลตอบแทนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าญี่ปุ่น บ้านเมืองรวง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวังเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ เตจ๊ะ นักวิจัยอิสระ
  • กิตติพร สวนมาลา นักวิจัยอิสระ
  • หญิง นายนู นักวิจัยอิสระ
  • ดร.ปภาวดี เนตรสุวรรณ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • สุภมล ดวงตา อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์รูปแบบกระเป๋าผ้าญี่ปุ่น, ต้นทุนและผลตอบแทน, ความพึงพอใจของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบกระเป๋าผ้าญี่ปุ่น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนการทำกระเป๋าผ้าญี่ปุ่น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 ราย การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการออกแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน 2564

ผลการศึกษาพบว่า

  1.  การออกแบบกระเป๋าผ้าญี่ปุ่น รูปทรงที่นำมาออกแบบเป็นรูปทรงที่แปลกใหม่และทันสมัยมากขึ้น ลวดลายมีความสวยงามและมีจุดเด่นมากขึ้นจากกระเป๋าผ้าญี่ปุ่นแบบเดิมแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของกระเป๋าผ้าแบบเดิมอยู่
  2. ต้นทุนของกระเป๋าผ้าญี่ปุ่น มีวัตถุดิบทางตรง เท่ากับ 620 บาท และค่าใช้จ่ายในการผลิต เท่ากับ 95 บาท รวมต้นทุนการผลิตกระเป๋า/1ใบ ทั้งหมด เท่ากับ 715 บาท ดังนั้นกำไรต่อชิ้นเท่ากับ 285 บาท
  3. ความพึงพอใจการออกแบบกระเป๋าผ้าญี่ปุ่น มีดังนี้
    1. ด้านผลิตภัณฑ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.20) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สินค้ามีความประณีต (gif.latex?\bar{x}= 4.44) รองลงมา ได้แก่ รูปทรงแปลกใหม่ (gif.latex?\bar{x}= 4.37)  และสินค้ามีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน (gif.latex?\bar{x}= 4.36)
    2. ด้านความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.34) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สินค้ามีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม (gif.latex?\bar{x}= 4.37) รองลงมา ได้แก่ สินค้ามีจุดเด่นในชิ้นงานอย่างชัดเจน (gif.latex?\bar{x}= 4.36) และ สินค้ามีลวดลายทันสมัย (gif.latex?\bar{x}= 4.29)
    3. ด้านการใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.34) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ใช้เป็นของฝากหรือของที่ระลึก (gif.latex?\bar{x}= 4.36) รองลงมา ได้แก่ สินค้ามีขนาดที่เหมาะสม (gif.latex?\bar{x}= 4.33) และสินค้าสามารถใส่ของได้หลายลักษณะ (gif.latex?\bar{x}= 4.29) 
    4. ด้านราคาในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.27) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ สินค้ามีขนาดที่เหมาะสม และ สินค้าสามารถใส่ของได้หลายลักษณะมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (gif.latex?\bar{x}= 4.27)
    5. ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.31) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์           (gif.latex?\bar{x}= 4.34)  รองลงมาคือ สามารถออกแบบกระเป๋าได้เอง (gif.latex?\bar{x}= gif.latex?\bar{x}4.32)  และ สามารถทราบรายละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ (gif.latex?\bar{x}= 4.27)

References

กลมชนก แท่นสูงเนิน (2564 มิถุนายน 3) การออกแบบรูป Geometric. แหล่งที่มา:

https://sites.google.com/site/khxmphiwtexrphunthan101/kar-xxkbaeb-rup-geometric

ภคพรหมณ์ สุขเกษมและรวิเทพ มุสิกะปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบกระเป๋าด้วยลวดลายผ้าไหมทอผสมเปลือกหอยมุก.ศิลปกรสาร.91 – 112

รัชนีกร อุตตมา. (2553). ช่องทางการจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษของเกษตรกร ในอำเภอสารภี จังหวัด เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2559). การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม:กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์. วารสารนิเทศศาสตร์ , 34(1).13 – 26

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023