การศึกษาความพึงพอใจการพัฒนากระเป๋าหูรูดจากผ้าฝ้ายกัดสี ในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • รัปพร ทองชัย นักวิจัยอิสระ
  • พัชราภรณ์ อิ่นคำ นักวิจัยอิสระ
  • เอกชัย อุตสาหะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วรรธนะรัตน์ ไชยวงศ์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, กระเป๋าหูรูดผ้าฝ้ายกัดสี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าหูรูดจากผ้าฝ้ายกัดสี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชากรทั่วไปที่สนใจ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ถึง เดือนกันยายน 2564

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความพึงพอใจที่มีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าหูรูดจากผ้าฝ้ายกัดสี 1)ด้านรูปแบบพบว่ารูปแบบมีความสวยงาม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.44) รูปแบบมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.47) รูปแบบมีความทันสมัย อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.37) 2) ด้านการใช้งานพบว่าใช้บรรจุสิ่งของเครื่องประดับต่างๆได้ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.42) ใช้เป็นของฝากของที่ระลึกอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.49) ใช้เป็นกระเป๋าสะพายหรือเครื่องประดับอีกหนึ่งชิ้น อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.40) 3) ด้านราคา พบว่าราคาและคุณภาพมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.18) ราคาเหมาะสมกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.28) ราคาสามารถจับต้องได้อยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x}= 4.27 ) 4) ด้านสีสันและการใช้วัสดุ พบว่าวัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x}= 4.39)  สีสันของผลิตภัณฑ์มีความสวยงามโดเด่น น่าสนใจ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.44)
  2. การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าหูรูด โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการกัดสีผ้าฝ้ายเพื่อออกแบบลวดลายและสีสันที่แปลกใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ พบว่าด้านพฤติกรรมการเลือกซื้อ ผู้บริโภคเลือกซื้อกระเป๋าหูรูดจากผ้าฝ้ายกัดสีลายคลื่นมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 37.50 รองลงมาคือลายดอกไม้ไฟ คิดเป็นร้อยละ 27.25 และลายเมฆ  คิดเป็นร้อยละ 18.25 โดยเลือกซื้อผ่านช่องทาง Facebook มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.25 จำนวนผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าหูรูดจากผ้าฝ้ายกัดสีที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการซื้อคือ 1 ใบ คิดเป็นร้อยละ 41.00 ในช่วงราคาระหว่าง 50 - 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.75 โทนสีที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการซื้อคือ โทนฟ้า - น้ำเงิน คิดเป็นร้อยละ 21.50

References

กรรณิการ์ สายเทพและพิชญา เพิ่มไทย. (2560) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 10(2). 1 – 11

พัฒนา พรหมณี , ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา.(2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)26(1).59-66

มนตรี ยอดบางเตย. (2538).ออกแบบผลิตภัณฑ์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

มนัส จันทร์พวง, วิยะณี ดังก้อง, ปาริฉัตร กุลเกลี้ยง, สุภาพร ธนะขว้าง,ณัฐกมล บัวบาน และ เอกภพ นิลพัฒน์ .(2563). การพัฒนาผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากใบสัก ชุมชนบ้านแม่พวก ตําบลห้วยไร่ อําเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8(1): 250 - 262

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023