บทบาทใหม่ของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • สาธิยา อังคประเสริฐกุล นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • ดร.พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

คำสำคัญ:

บทบาทใหม่ของบุคลากร, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19), อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทใหม่ของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง 384 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way-ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์              

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งงานปัจจุบันระดับปฏิบัติการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 30,000 บาท มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทใหม่ของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีระดับความคิดเห็นในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) และด้านการทำงานได้หลากหลาย (Multi-Skill) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านนวัตกรรมการผลิตและการตลาด (Production and Marketing) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า เพศ และ อายุ ไม่มีความแตกต่าง ส่วนระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ณัธภัทร เฉลิมแดน. (2564 มกราคม 12). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร แหล่งที่มา : https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/download/244515/165506/

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18 กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิภาพร กลิ่นกัน และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2564 มกราคม 5). การจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. แหล่งที่มา : http://www.vl-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-1_1607930267.pdf

บุญเรือน ทองทิพย์. (2564 มกราคม 12). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)กับศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. แหล่งที่มา : https://so04.tcithaijo.org/index.php/JSBA/article/view/245891/167918

พงศิษฐ์ ด่านประเสริฐกุล. (2564 มกราคม 12). การทำงานที่หลากหลายทักษะ. แหล่งที่มา : https://orchidjobs.com/th/news/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2564 มกราคม 12).การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. แหล่งที่มา : https://so01.tcithaijo.org/index.php/BJBM/article/download/241762/166105/

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2563 พฤจิกายน 15). จำนวนกิจการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดระยอง. แหล่งที่มา : www.thaieei.com

สำนักงานแรงงาน จังหวัดระยอง. (2564 มีนาคม 31). รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดระยองไตรมาส 4 ปี 2563 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563 แหล่งที่มา : https://rayong.mol.go.th

Barney, J.B., Wright, M., & Ketchen Jr., D.J. (2001). The resource-based view of the firm: Ten years after 1991. Journal of Management, 27(6), pp. 625-641.

Bhatt, G. D. (2001). Knowledge management in organizations: examining the interaction between technologies, techniques, and people. Journal of Knowledge Management, 5(1), 68-75. doi: doi:10.1108/13673270110384419

Duan, Y., Nie, W., & Coakes, E. (2010). Identifying key factors affecting transnational Knowledge transfer. Information & Management, 47(7-8), 356-363. doi:10.1016/j.im.2010.08.003

Jaqdish (2020). [online]. Business of business is more than business: Managing during the Covid crisis Available from: URL: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0019850120303977

Karabulut, A. T. (2015). Effects of Innovation Types on Performance of Manufacturing Firms in Turkey. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 195, 1355-1364.

Kotler, P., & Keller, K. (2012). Marketing management (14th ed.). New York: Pearson Education limited Prentice-Hall.

Leonard Nadler. (1980). Corporate Human Resources Development. New York: American for Training and Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023