การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • ทอแสงรุ้ง มโนริ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิตยา ของงาม นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุภัสสร โนขัติ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิรุตติ์ ชัยโชค อาจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาและออกแบบ, ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ามัดย้อม, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและออกแบบกระเป๋าผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่สนใจ ในกระเป๋าผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนผู้ที่สนใจในกระเป๋าผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความพึงพอใจของผู้ที่สนใจ ในกระเป๋าผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.30) สามารถพิจารณาแต่ละด้านได้ดังนี้ ด้านลวดลายของผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.19) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์มีลวดลายและสีสันสดใส  สวยงาม (gif.latex?\bar{x}=4.25) ด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.35) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ขนาดกระเป๋ามีความเหมาะสมกับการใช้งาน และผลิตภัณฑ์ มีหลากหลายรูปแบบให้เลือก (gif.latex?\bar{x}=4.41) และด้านราคา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.36) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการติดป้ายราคาของกระเป๋าชัดเจน (gif.latex?\bar{x}=4.51)
  2. การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.05) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=4.09) เมื่อพิจารณา แต่ละข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับการใช้งาน (gif.latex?\bar{x}=4.15) ด้านราคา อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.13) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ (gif.latex?\bar{x}=4.27) และด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.93) เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีลวดลายต่างไปจากเดิม (gif.latex?\bar{x}=4.08)

References

ชนาธินาถ ไชยภู. (2556). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกสะตอ กรณีศึกษากลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา

จังหวัดนครศรีธรรมราช. 144.

นันทิยา ดอนเกิด. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาผ้ามัดย้อมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชนบ้านหัวชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. 16.

http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/127-25600830143553.pdf

สมบัติ สิงฆราช. (2554) การพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา: กลุ่มทอฝ้ายบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. 95.

http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/751.

http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/4171/2/Chanathinat_C.pdf

อาทิตยา ใคร่นุ่นและคณะ. (2556). การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น. 73.

http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023