การพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ กลุ่มทอผ้าไหม บ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ต้นทุน, ผลตอบแทน, การพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนการทอผ้าไหมมัดหมี่ เพื่อศึกษาปัญหาในการทอผ้าไหมมัดหมี่ และเพื่อพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ กลุ่มทอผ้าไหม บ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ทอผ้าไหม บ้านวังศิลา จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิตเชิงพรรณาที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร ทอผ้าเพื่อใส่เอง มีประสบการณ์ในการทอผ้า 10 ปีขึ้นไป และได้รับความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ (2) ต้นทุนการผลิตการทอผ้าไหมมัดหมี่ ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรงเฉลี่ยต่อผืน 507.07 ค่าแรงงาน 300 บาท และค่าใช้จ่ายในการผลิต 154.33 บาท ต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย ต่อผืน เท่ากับ 961.40 บาท รายได้จากการขายเฉลี่ย/ผืน 1,833.33 อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 47.56 % และ อัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 90.69 % (3) ปัญหาเกี่ยวกับการทอผ้าในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปัญหาด้านผู้ผลิต (ผู้ทอ) (=4.05) รองลงมา ได้แก่ ปัญหาด้านกระบวนการทอ (=3.66) ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ (=3.27) และปัญหาด้านวัตถุดิบ (เส้นไหม) (=1.22) และ (4) ผลการพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดมัดหมี่ ได้ลวดลายนกยูง และลายชิด ที่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความคิดเห็นว่า ลายนกยูง มีชัดเจนด้านลวดลาย ด้านสี และด้านผู้พัฒนาออกแบบ มากกว่า ลายชิด
References
กุลนิษก์ สอนวิทย์. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคสูงวัย. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 12 (2), หน้า 194 – 213.
คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2558). การรณรงค์แต่งผ้าไทย และส่งเสริมชุดไทยเป็นอัตลักษณ์ประจำชาติ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562. จาก : https://www.senate.go.th/assets/portals/22/fileups/148/files/pdf
จักรพันธ์ สุระประเสริฐ. (2558). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้าย : กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทลื้อบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย. (2557). การเงินธุรกิจ. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชนิดาภา มาตราช และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2559). “การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนกลุ่มทอผ้าไหม มัดหมี่ “ลายฟองน้ำหัวฝาย” ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.” วารสาร สถาบันวิจัยพิมลธรรม. ฉบับที่ 2. น 1-14.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสาหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บีแอนด์บีพับลิชชิ่ง.
เพชรี ขุมทรัพย์. (2554). วิเคราะห์งบการเงินหลักและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่12 ฉบับปรับปรุง แก้ไขกรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพ็ญนิดา ไชยสายัณห์. (2562). การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562. จาก :http://www.pattani.go.th/plan/files/doc1.pdf
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2562). ผ้ามัดหมี่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562. จาก : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/traditional-craftsmanship/241-craft/75-----m-s
รำไพ จินใจ. ประธานกลุ่มทอไหม บ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. (2562). ความเป็นมากลุ่มทอผ้าไหม. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2559). โปรแกรมไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562. จาก : https://th.wikipedia.org/wiki
อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2555). การบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร.ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
__________. (2556). การบัญชีต้นทุน.ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Best. (1970). เกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็น. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562. จาก : https://www.gotoknow.org/posts/347817
Tara Yamane. (1973). สูตรคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562. จาก : https://greedisgoods.com/taro-yamane
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร