การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาล ในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วิมลมาศ ริ้วสุวรรณ นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน, โรงพยาบาลรัฐบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวโน้มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2562 พร้อมทั้งวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย ซึ่งใช้งบการเงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2562 ของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย ทำการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานค่าเฉลี่ยในการวัดผลอัตราส่วนทางการเงิน และกรณีที่พบแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และเกณฑ์ต่ำ      ผู้วิจัยจะดำเนินการสัมภาษณ์นักบัญชีของโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข

ผลการวิจัยพบว่าโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงรายมีปัญหาแนวโน้มปัญหาระบบการจัดเก็บรายได้หรือการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลยัง ไม่มีประสิทธิภาพ โดยโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงรายต้องเร่งรัดการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลให้ทันเวลา ปัญหาภาระหนี้สินและระบบบริหารจัดการการจ่ายชำระหนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงรายต้องมีการวางแผน  การชำระหนี้ให้เหมาะสม โดยการก่อหนี้ผูกพันให้น้อยกว่าการจ่ายชำระหนี้ในแต่ละเดือน รวมทั้งจัดหารายได้ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่ม และปัญหาการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่เต็มประสิทธิภาพหรืออาจมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไป โรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงรายต้องควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อไม่ให้มีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). หลักเกณฑ์การวัดสถานะการเงินระดับ 7PLUS Efficiency Score. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562, จาก http://www.spbket10.com/cfo/images/files/Meetting5-6jan60/4.K-Danuphop7EfficiencyPlus2560_V1.pdf

กวิน ก้านแก้ว. (2551). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสรรงบประมาณตามสิทธิการรักษากับสภาพคล่องทางการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นจาก ฐานข้อมูลศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช.".

กองเศรษฐกิจสุขภาพ. (2562). สรุปผลการประเมินวิกฤตทางการเงินระดับ 7 (RiskScoring Plus)ไตรมาส 4/2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563, จาก http://hfo62.cfo.in.th/

จันทนา วัฒนกาญจนะ. (2556). การศึกษาอัตราส่วนมาตรฐานทางการเงินในธุรกิจอุตสาหกรรมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ

VERIDIAN E-JOURNAL SILPAKORN UNIVERSITY ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(3), 1399-1426.

จิรทัทร สิทธิสันต์. (2556). การวิเคราะห์เปรียบสถานการณ์ด้านการเงินการคลังระหว่างปีงบประมาณ 2552 – 2554 ของโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 7(1), 71-74.

นิยม คำบุญทา. (2550). การวิเคราะห์เปรียบเทียบงบการเงินด้วยอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.

(รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2554). การวิเคราะห์งบการเงิน : หลักและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชัย สอนเรือง. (2560). ปัญหาการบริหารงบประมาณสำหรับโรงพยาบาลรัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562, จาก https://siamrath.co.th/n/ 13208

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ. นนทบุรี : บริษัท โอ – วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด.

สุรกิจ คำวงศ์ปีน. (2559). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน : แนวทางและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษณีย์ เจริญพงษ์. (2552). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มการแพทย์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นจาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023