การศึกษาความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม ต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกระดาษสา จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อวยพร ต๊ะวัน อาจารย์ประจำสาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาเชียงราย
  • กมลวรรณ กุลพรหม เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • วริศรา พิบูลศรี เยาวชนผู้ร่วมวิจัย
  • กัญญาภัทร นัยนา เยาวชนผู้ร่วมวิจัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรมกระดาษสา, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกระดาษสา ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกระดาษสา และศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจในผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรมกระดาษสา ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจในผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรมกระดาษสา ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรมกระดาษสา มีการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับปรุงพัฒนา  ให้มาเป็นภูมิปัญญาสมัยใหม่ มีการผสมผสานรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบพัฒนากันอย่างกลมกลืนเหมาะสม มีคุณภาพและมีคุณค่าให้แปลกใหม่ จากการใช้เทคนิคการสร้างลวดลาย เพื่อเพิ่มความสวยงามและเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค

พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกระดาษสา มีความต้องการซื้อ ออทัมน์วอลเปเปอร์ ในระดับปานกลาง มีความต้องการซื้อโคมไฟดาวน้อย ในระดับปานกลาง และมีความต้องการซื้อสมุดมหัศจรรย์ทำมือ ในระดับปานกลาง จุดประสงค์หลักที่ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์คือรูปแบบลวดลายสะดุดตา ความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับปานกลาง และผู้บริโภคมีความต้องการซื้อทางออนไลน์และหน้าร้าน คิดเป็นร้อยละ 44.00

ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกระดาษสา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x}=3.54) เมื่อพิจารณาเป็นแต่ละด้าน พบว่า ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กระดาษสา ในทุกด้านอยู่ในระดับมาก ในขณะด้านผลิตภัณฑ์มีความสวยงามมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กระดาษสาสูงสุด (gif.latex?\bar{x}=3.69) รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์มีขนาดและรูปแบบเหมาะสม (gif.latex?\bar{x}=3.55) และด้านผลิตภัณฑ์มีความคุ้มค่าและด้านผลิตภัณฑ์มีราคาสมเหตุสมผลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{x}=3.51)

References

ชญานิน วังตาล. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษจากชานอ้อยของชุมชนบ้านป่าก่อพัฒนา ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. รายงานผลการวิจัย. เชียงราย : สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. หน้า 463.

ล้านนาเวย์. (2562 มิถุนายน 26). ประวัติกระดาษสา. แหล่งที่มา: http://www.lannaway.com/home/post/ประวัติกระดาษสา

วิริยะประกันภัย. (2562 มิถุนายน 26). ลมหายใจของ “กระดาษสา”. แหล่งที่มา: https://www.viriyah.co.th/th/content/article.php?page=207.

ศิขรินทร์ ปั้นเก่า. (2556 สิงหาคม 30). โครงการกระดาษชุมชน บ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. แหล่งที่มา:

https://www.changemakers.com/th/node306408/entries/โครงการกระดาษชุมชน-บ้านสามขา-อำเภอแม่ทะ - จังหวัดลำปาง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่ . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสาร.

อุทัยพรรณ สดใจ ุ . (2545). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การโทรศัพทแห่งประเทศไทยจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาสังคมวิทยาประยุกต์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022