การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากลวดลายผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง บ้านเวียงหมอก ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อวยพร ต๊ะวัน อาจารย์ประจำ สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและออกแบบลวดลายผ้าปักของชาติพันธุ์ม้ง 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาและออกแบบลวดลายผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนผู้ปักผ้าชาติพันธุ์ม้ง บ้านเวียงหมอก ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาลวดลายผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง มีการออกแบบลายปักผ้าให้มีความหลากหลาย ผสมผสานลวดลายต่างๆ ให้เข้ากับลวดลายดั้งเดิมมีการใช้สีมากขึ้นเพื่อเพิ่มสีสันให้ผ้าปัก 2) ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง พบว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์เสื้อชาติพันธุ์ม้งต่อ 1 ตัว เฉลี่ยเท่ากับ 948.33 บาท ผลตอบแทน 1,500 บาท กำไร 551.66 บาท ต้นทุนผลิตภัณฑ์กระโปรงชาติพันธุ์ม้งต่อ 1 ตัว เฉลี่ยเท่ากับ 1,626.25 บาท ผลตอบแทน 3,125.00 บาท กำไร 1,498.75 บาท ต้นทุนผลิตภัณฑ์กางเกงชาติพันธุ์ม้งต่อ 1 ตัว เฉลี่ยเท่ากับ 532.50 บาท ผลตอบแทน 950 บาท กำไร 217.50 บาท ต้นทุนผลิตภัณฑ์กระเป๋าชาติพันธุ์ม้งต่อ 1 ใบ เฉลี่ยเท่ากับ 495.00 บาท ผลตอบแทน 600.00 บาท กำไร 105 บาท และ 3) ความพึงพอใจในการพัฒนาและออกแบบลวดลายผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.53) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความงามทางศิลปะ (gif.latex?\bar{x}=4.60) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านวัสดุ และด้านความเหมาะสมต่อวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x}=4.50)

References

กิ่งกนก พิทยานุคุณ, สุนทรี จรูญ และ รวีวัลย์ ภิยโยพนากุล. (2548). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดวงมณี โกมารทัต. (2554). การบริหารต้นทุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ทองเจือ เขียดทอง. (2558 มิถุนายน 2). ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง การออกแบบเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์. แหล่งที่มา:

http://www.journal.rmutt.ac.th/index.php/arts/article/viewFile/312/323

เมทิกา สินสุรินทร์ และคณะ. (2562). ต้นทุน ผลตอบแทน และปัญหาของผู้ปักผ้าชนเผ่าม้ง หมู่บ้านไทยเจริญ ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. บัญชีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย. (2559 กรกฏาคม 23). ชนเผ่าม้ง (Hmong). แหล่งที่มา: https://impect.or.th/?p=15005.

สุธิษา ศรพรหมและคณะ. (2559). การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าปักอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้ง. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2559 (2), 111-123.

สุพะยอม นาจันทร์ และคณะ. (2559). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2 (5 – 6 สิงหาคม 2562). หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. 923 – 939.

อคิน รพีพัฒน์ และคณะ. (2536). การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อริสา แซ่ยา. (2563 พฤษภาคม 27). ผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง. แหล่งที่มา: http://arisaamelie.blogspot.com/2016/09/5.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022