การพัฒนาและออกแบบผ้าปักอัตลักษณ์ชาติพันธุ์เมี่ยน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนาและออกแบบ, ต้นทุนการผลิต, ผลตอบแทนจากการลงทุนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผ้าปักกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน เพื่อพัฒนาและออกแบบผ้าปักกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน ในเขตพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามจากผู้ผลิตผ้าปักชาติพันธุ์เมี่ยน จำนวน 24 ราย ใน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน ไม่ได้รับการศึกษา มีอาชีพเกษตรกร ใช้เวลาว่างในการปักผ้า ส่วนใหญ่ปักเพื่อใช้เองมีรายได้ต่อผืน 750 บาท ขึ้นไป ต้นทุนการปักผ้าเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เสื้อ มีต้นทุนเฉลี่ย 2,315 บาท/ผืน ผลิตภัณฑ์ผ้าโพกหัว มีต้นทุนเฉลี่ย 486 บาท/ผืน ผลิตภัณฑ์กางเกง มีต้นทุนเฉลี่ย 4,002 บาท/ผืน ผลิตภัณฑ์ชายผ้าข้างหลัง มีต้นทุนเฉลี่ย 430 บาท/ผืน ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอ มีต้นทุนเฉลี่ย 574 บาท/ผืน ผลิตภัณฑ์ย่ามสะพาย มีต้นทุนเฉลี่ย 310 บาท/ผืน ผลิตภัณฑ์หมวก มีต้นทุนเฉลี่ย 315 บาท/ผืน ผลตอบแทนจากการลงทุนในการปักผ้าเพื่อทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เสื้อ เท่ากับ ร้อยละ 40.39 ผลิตภัณฑ์ผ้าโพกหัว เท่ากับร้อยละ 18.48 ผลิตภัณฑ์กางเกง เท่ากับร้อยละ 75.94 ผลิตภัณฑ์ชายผ้าข้างหลัง เท่ากับร้อยละ 62.79 ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอ เท่ากับร้อยละ 33.79 ผลิตภัณฑ์ย่ามสะพาย เท่ากับร้อยละ 38.70 ผลิตภัณฑ์หมวก เท่ากับร้อยละ 37.46
ผลการประเมินการพัฒนาผ้าปักชาติพันธุ์เมี่ยน ที่ผู้วิจัยทำการออกแบบและพัฒนาขึ้นใหม่พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านแบบอย่างและวัฒนธรรม รองลงมา ด้านคุณสมบัติทางวัสดุและเศรษฐกิจ ด้านประโยชน์การใช้สอย ด้านความงามทางศิลปะ และด้านการจับคู่สี
References
กนกวรรณ ตันติวรางกูร. (2552 มิถุนายน 1). ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผ้าทอกะเหรี่ยงลายโบราณของวิสาหกิจชุมชนบ้านเด่นยางมูล อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. แหล่งที่มา: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/bitstream/6653943832/9931/2/acc0354kt_ abs.pdf
ชาญศักดิ์ ตั้งสันติกุลานนท์ (2560 มิถุนายน 3) การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตขาเทียมโดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหล่งที่มา: http://mim12bibiilham.blogspot.com/2017/11/blog-post_5.html
ดวงมณี สูงสันเขต. (2559 มิถุนายน 13). การศึกษาชนเผ่าอาข่าเพื่อออกแบบชุดผลิตภัณฑ์ตกแต่ง บนโต๊ะอาหาร (กรณีศึกษาชนเผ่าอาข่า กลุ่มลอมี้ จังหวัดเชียงราย). แหล่งที่มา: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/889
ธนิต โสรัตน์. (2558). การประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานโลจิสติกส์.กรุงเทพฯ : ประชุมทอง พริ้นติ้งกรุ๊ป
ละเอียด ศรีหาเหง่า (2557) การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่ง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเจดีย์แม่ครัว ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
วันวิสา เนื่องสมศรี. (2557). ความต้องการใช้ข้อมูลทางด้านบัญชีเพื่อ การตัดสินใจด้านกิจกรรมการตลาดของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่ง ประเทศไทย.
วารสารการจัดการและการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี. ปีที่ 1 (ฉบับที่ 2) : 49-50.
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (2557 มกราคม 25). เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายผ้าชาวเขา. แหล่งที่มา:
https://fliphtml5.com/wqdx/nszx
สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558 เมษายน 23). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง บ้านผานกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. แหล่งที่มา: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/48623
สืบสกุล ชื่นชม (2563 มิถุนายน 4) การประยุกต์ใช้กระบวนการทางการตลาดเพื่อนำมาใช้กับการออกแบบแฟชั่นชุดผ้าฝ้ายเพื่อจำหน่ายสำหรับผู้ประกอบการชุมชน. แหล่งที่มา:http://search.lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1492714
สุขใจ ตอนปัญญา. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวของเกษตรกร หมู่ 5 ตำบล หัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุธิดา แซ่ย่างและคณะ (2562). การออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องเครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าปักลายม้ง. กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง : กรุงเทพฯ
สุธิษา ศรพรหม. (2556 กรกฎาคม 3). ศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าปักอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้ง.แหล่งที่มา:
https://dcms.thailis.or.th/dcms/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=399713
องค์การบริหารส่วนตำบล ป่าตึง. (2562 มิถุนายน 8). ข้อมูลทั่วไปตำบลป่าตึง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. แหล่งที่มา: http://www.patung.go.th/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร