การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือ บ้านหนองบัวสรวย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ความพึงพอใจ, ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือ บ้านหนองบัวสรวย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าฝ้ายทอมือส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร ผู้สนใจส่วนใหญ่เคยซื้อ/เคยใช้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าฝ้ายทอมือ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือ ได้มีการพัฒนากระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือขึ้นมาใหม่ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ให้ลวดลายมีความสวยงาม และสร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัว
ความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าฝ้ายทอมือ ด้านผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด ด้านราคา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า ราคาเหมาะสมกับขนาด มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการออกแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า วัสดุที่ใช้ในงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำจากผ้าฝ้าย มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการส่งเสริมการขาย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ พบว่า การให้ส่วนลดกับผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด
References
กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2555). การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษากลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. ศิลปกรรมสาร, 13-52.
พัชรา อักษินิตย์กุล. (2555 มิถุนายน 12). ความหมายของการออกแบบ.แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/315051
พุทธรักษา วงศ์ปฏิมาและคณะ. (2557 มิถุนายน 10). ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจากภูมิปัญญาไทย.แหล่งที่มา http://pna551.blogspot.com/p/blog-page.html
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2561 มิถุนายน 10). ศูนย์บันดาลไทย จังหวัดเชียงราย ต้นทุนสร้างสรรค์ สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนคุณธรรม. แหล่งที่มา https://www.m-culture.go.th/chiangrai.
Fuller, G.W. (1 9 9 4). New Product Development from Concept to Marketplace. CRCPress, Inc. USA: Boca Raton, Florida.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร