พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัว, พฤติกรรมผู้บริโภค, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจในผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 234 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว ได้ออกแบบ ให้ดอกไม้ มีความโดดเด่น สะดุดตาผู้บริโภค โดยการพัฒนาเริ่มจากการนำไฟกระพริบมาใส่แทนเกสรดอกไม้และเพิ่มเทคเจอร์จากการใส่ไฟที่ดอกไม้ผ้าใยบัวแล้วยังศึกษาวิธีการทำต้นจากเส้นลวด เพื่อเพิ่มลวดลาย ให้ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัวรูปแบบที่ 1 ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัวรูปแบบที่ 2 ในระดับมากที่สุด มีแนวโน้มการตัดสินใจซื้อไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว อยู่ในระดับมาก ผู้บริโภคคิดว่าผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัวมีความโดดเด่น สะดุดตา อยู่ในระดับมาก
ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไฟกระพริบดอกไม้จากผ้าใยบัว ด้านผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านราคา ราคาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ด้านส่งเสริมการตลาด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กัสมา กาซ้อน. (2561). การวิจัยเบื้องต้นทางการบัญชี. เชียงราย: สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กาญจนา รัตนธีรวิเชียรและคณะ (2562). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าถักโครเชต์ แบบมีส่วนร่วม ตำบลแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
กรรณิการ์ พันธเสน. (2553). ดอกไม้จากผ้าใยบัว เล่ม 2. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์ .
จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์. (2560). กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัว. กรุงเทพฯ:สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พัชราพรรณ เสงี่ยมศักดิ์และคณะ. (2561). ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์.
สุภาลักษณ์ ชัยอนันต์. (2540) ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศแบบมีสัญญาผูกพันในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Hornby, A. F. (2000). Advance learner's dictionary (6th Ed.). London, England: Oxford University.
Jones, W. (2004). Job Satisfaction and Organizational Commitment. Indiana: Indiana University-Purdue University.
Kotler, P. (2012). Marketing Management. 13th Ed. New Jersey: Practice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร