การออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ม้ง ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
Embroidered Fabric Pattern with Hmong Ethnic, Development of Embroidered Fabric Patternบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ม้งและศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจในผลิตภัณฑ์ผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ม้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้สนใจผลิตภัณฑ์ผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ม้ง ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ม้ง โดยใช้ลวดลายผ้าปักของชาติพันธุ์ม้ง ได้แก่ ลวดลายปักไขว้แบบดั้งเดิม ลวดลายปักไขว้แบบประยุกต์ ลวดลายรูปแบบมาจากลายครอสติชและลวดลายผสม มาพัฒนาให้มีสีสันสดใส และนำลวดลายมาผสมผสานกัน เพื่อให้ทันสมัย ในด้านต้นทุนพบว่า มีต้นทุนรวมเท่ากับ 850 บาทต่อผืน วัตถุดิบทางตรงเท่ากับ 150 บาทต่อผืน ค่าแรงงานทางตรงเท่ากับ 600 บาทต่อผืน ค่าใช้จ่ายในการผลิตเท่ากับ 100 บาทต่อผืน และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจในผลิตภัณฑ์ผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ม้ง ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ( =4.44) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านแนวคิด ( =4.48) รองลงมา ได้แก่ด้านชิ้นงาน ( =4.45) และด้านการออกแบบ ( =4.40)
References
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. ฝ่ายพัฒนานวัตศิลป์ไทย สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตศิลป์. (2563). ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และการสร้างสรรค์ผ้าปักม้ง.
สาคร คันธโชติ. (2528). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุธิษา ศรพรหม, อุดมศักดิ์สาริบุตร และพิชัย สดภิบาล. (2559). การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าปักอัตลักษณ์ชาตพิันธุ์ม้ง. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 111 – 123.
สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านผานกกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร