การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อแฟชั่นชาติพันธ์อาข่า จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อวยพร ต๊ะวัน อาจารย์ประจำสาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาเชียงราย
  • กมลรัตน์ วันไช เยาวชนผู้ร่วมพัฒนา
  • กัญญาลักษณ์ คำเงิน เยาวชนผู้ร่วมพัฒนา
  • ชลลดา พรสุขสมสกุล เยาวชนผู้ร่วมพัฒนา

คำสำคัญ:

เสื้อแฟชั่นชาติพันธ์อาข่า, ต้นทุนและผลตอบแทน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นชาติพันธุ์อาข่า 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นชาติพันธุ์อาข่า และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นชาติพันธุ์อาข่า ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์เสื้อแฟชั่นชาติพันธุ์อาข่า จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อแฟชั่นชาติพันธุ์อาข่า ได้มีการนำผ้าปักลายของชาติพันธุ์อาข่ามาตัดเย็บบนเสื้อแฟชั่น รูปแบบของเสื้อมีความทันสมัยตามแฟชั่น สวมใส่ง่าย สวมใส่ได้หลากหลายโอกาส ดูแลรักษาง่าย 2) ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นชาติพันธุ์อาข่า พบว่า ชุดเกาะอกต้นทุนรวมเฉลี่ย 320 บาทต่อชุด วัตถุดิบทางตรงเฉลี่ย 120 บาท ค่าแรงงานทางตรงเฉลี่ย 100 บาท ค่าใช้จ่ายในการผลิตเฉลี่ย 100 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 500 บาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 56.25% และอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายเฉลี่ย 36.00% และ 3) ความพึงพอใจของผู้สนใจในผลิตภัณฑ์เสื้อแฟชั่นอาข่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.44) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านแบบอย่างและวัฒนธรรม (gif.latex?\bar{x} =4.73) รองลงมาคือ ด้านการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x} =4.42) ด้านความงดงามทางศิลปะ (gif.latex?\bar{x} =4.41) ด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x} =4.35) และด้านประโยชน์การใช้งาน (gif.latex?\bar{x} =4.30)

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บริษัท วีอินเตอร์พริ้นท์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ศุภาพร แซ่ลีและคณะ. (2562). การพัฒนาและออกแบบผ้าปักลายผสมผสานชาติพันธุ์ อาข่า ม้ง และเมี่ยน ในอำเภอเมือง และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. บัญชีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2557). เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายชาวเขา. นนทบุรี : สยามคัลเลอร์พริน.

สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านผานกกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สาคร คันธโชติ. (2528). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สิริรัตน์ โอภาพ. (2563 มิถุนายน 10). การแต่งกายชนเผ่าอาข่า บ้านปางขอน.แหล่งที่มาhttp://123.242.145.13/album/192521/การแต่งกายชนเผ่าอาข่า_บ้านปางขอน

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลําปาง. (2563). กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง. ลำปาง: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลําปาง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2022