การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการโค้ช ในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ธนพร หอมละออ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ทฤษฎีเพื่อนช่วยเพื่อน, การเรียนรู้แบบการโค้ช, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ทฤษฎีเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการโค้ชในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 66 คน โดยนำกลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการโค้ช มาใช้ในการศึกษาการวิจัย โดยมีลักษณะรุ่นพี่ช่วยแนะนำ อธิบาย และแลกเปลี่ยนความคิดให้กับรุ่นน้องเกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียน

          ผลการวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้นโดยใช้การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการโค้ช พบว่า (1) ประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้ทฤษฎีเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการโค้ชในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น มีประสิทธิภาพคิดเป็น ร้อยละ 54 (2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้ แบบการโค้ชในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบการโค้ชในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น โดยมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์และวิสาข์ จัติวัตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลการวิเคราะห์ของครูพณิชยกรรม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 134 – 150.

ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์และมาเรียม นิลพันธุ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 195 – 213.

ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ และวีณา วรพงศ์. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความรู้ด้านการเงินขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ครั้งที่ 1, 779 – 788.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2559). ความหมายและขอบเขตของการบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(35), 86 – 97.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

บุษยากร ซ้ายขวา ผาสุก บุญธรรม และเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-assisted Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชนเผ่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(3), 77 – 86.

บุษราคัม ศรีจันทร์ และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2560). รูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งเสริม Metacognitionของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 84 – 99.

Best, J.W. (1970). Research in Education. New Jersey : Prentice-Hall.

Heward, D. w., Heron, T. S., & Cooke, N. L. (1982). Tutor Huddle : Key Element in a Class Room

Peer Tutoring System. The Elementary School Journal. 83(2), p. 114 – 123.

Likert, R. (1970). A Technique for the Measurement of Attitude In G.F.Summer (Ed). Attitudes measurement. New York : Rand McNally.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2022