การศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าถักโครเชต์ ของตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นันทฉัตร สามแก้ว นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปรียารัตน์ ส่งแสง นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พรรณรายณ์ หอมระรื่น นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.วรลักษณ์ วรรณโล รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ผ้าถักโครเชต์, การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าถักโครเชต์, ความพึงพอใจของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าถักโครเชต์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ผ้าถักโครเชต์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และประชาชนทั่วไป ในตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงเนื้อหา (Content Analysis) การแจกแจงความถี่ เป็นการแสดงค่าความถี่ของข้อมูลที่เก็บมาได้ โดยแสดงเป็นจำนวนและร้อยละ (%)

ผลการวิจัยพบว่าพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.11 และรองลงมาเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 48.89  ช่วงอายุระหว่าง ต่ำกว่า 20 ปี และอายุระหว่าง 41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.89 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.00 และอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 18.67 มีรูปแบบของการประกอบอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และธุรกิจส่วนตัว

จากการวิเคราะห์การประเมินการออกแบบของผลิตภัณฑ์ผ้าถักโครเชต์ ด้านประโยชน์การใช้สอย      ในภาพรวมพบว่าลวดลายผ้าถักโครเชต์มีความเหมาะสมกับการใช้สอย ในด้านความงามทางศิลปะ เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าความประณีตในการถักมีผู้ให้ความสนใจเป็นอันดับแรก ด้านการจับคู่สี เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันใหม่มีความน่าสนใจมากกว่า ด้านคุณสมบัติทางวัสดุและเศรษฐกิจเมื่อพิจารณา แต่ละด้านพบว่าการเลือกใช้วัสดุมีความเหมาะสมมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ หากผู้ประกอบการออกแบบพัฒนาในด้านรูปทรง สีสันของกระเป๋าให้มีความหลากหลาย โดดเด่น แตกต่างจากเดิมจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์และหากมีการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่าย ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้นทำให้ชิ้นงานของผู้ประกอบการเป็นที่รู้จัก ช่วยเพิ่มรายได้ในการจัดจำหน่ายตัวผลิตภัณฑ์อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคหันมาสนใจงานโตรเชต์มากขึ้น

References

ชลาธิป ชาญชัยฤกษ์ (2557).Think outside the box. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

เชาว์ โรจนแสง. (2550). การจัดการผลิตภัณฑ์ราคา.พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เบญจรัตน์ จันทร์โต.(2555 ตุลาคม 23). การถักผ้าพันคอไหมพรม. แหล่งที่มา: https://www.tcithaijo.org/index.php/cmruresearch/article/download/215051/149681/

วชิรา วงศ์พันธุ์. (2562 ). การพัฒนาทักษะการวาดภาพคนครึ่งตัวด้วยวิธีการสอนวาดส่วนต่างๆของรูปคนอย่างเป็นขั้นตอน ของนักเรียนชั้น ป.3 ปีการศึกษา 2554. วิจัยในชั้นเรียน. โรงเรียนอัสสัมชัญ.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2022