การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมวกกุ๊บไตบ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การผลิตภัณฑ์หมวกกุ๊บไต 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หมวกกุ๊บไต และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมวกกุ๊บไต พื้นที่ในการศึกษาคือบ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ผลิตหมวกกุ๊บไตบ้านต่อแพ จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความสนใจหรือความต้องการซื้อหมวกกุ๊บไตในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการณ์การผลิตภัณฑ์หมวกกุ๊บไต พบปัญหาและอุปสรรคของผู้ผลิตหมวกกุ๊บไต คือ ไม่มีตลาดรองรับสินค้า เนื่องจากไม่มีการประชาสัมพันธ์กลุ่มหรือผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ในด้านผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบล้าสมัย เนื่องจากผู้ผลิตไม่มีแนวทางการผลิตหมวกกุ๊บไตในแบบใหม่ๆที่ทันสมัย และจำนวนการผลิตไม่มีความแน่นอนทั้งด้านเวลาและจำนวนเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มีอาชีพหลักอยู่แล้ว จะใช้เวลาว่างจากการทำงานหลักทำการจักสานเท่านั้น ดังนั้นจึงทำให้การผลิตหมวกกุ๊บไตใช้เวลานาน การผลิตหมวกกุ๊บไต มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 90 บาทต่อใบ 2) การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์หมวกกุ๊บไต พบว่า การออกแบบหมวกกุ๊บไตเป็นการออกแบบให้มีการเพิ่มสีสันและลวดลายลงบนหมวก โดยใช้สีสันและลวดลายที่ทันสมัยสามารถสวมใส่ได้หลากหลายโอกาส 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์หมวกกุ๊บไตในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=4.22) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านประโยชน์ในการใช้งาน (=4.27) รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (=4.20) และด้านความสวยงามของผลิตภัณฑ์ (=4.18) ตามลำดับ
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ปั้นกล่ำ. (2554). ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ของนักออกแบบไทยร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.
พินพัสนีย์ พรหมศิริ. (2547). กลยุทธ์การตลาดสำหรับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. ประชาชาติธุรกิจ.
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ศิษฏ์ ลือนาม. (2555). การพัฒนาลวดลายตกแต่งบนเครื่องปั้นดินเผาห้วยวังนองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร