การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อพื้นเมืองปักลายจากผ้าฝ้าย บ้านต้นยาง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนา, เสื้อพื้นเมือง, ผ้าฝ้ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและลวดลายของผลิตภัณฑ์ ศึกษาพฤติกรรม และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เสื้อพื้นเมืองปักลายจากผ้าฝ้าย บ้านต้นยาง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษา คือ กลุ่มประชากรจังหวัดเชียงราย จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ประกอบอาชีพข้าราชการ (2) ข้อมูลผลการวิเคราะห์พฤติกรรม ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่สินค้าแบบที่ 1 (ลวดลายธรรมดา เรียบง่าย) ไม่ซื้อ สินค้าแบบที่ 2 (ลวดลายที่พัฒนา) ซื้อ (3) ข้อมูลผลการวิเคราะห์พฤติกรรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา ด้านลวดลาย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ลวดลายผ้ามีความชัดเจนและสวยงาม รองลงมา ได้แก่ อุปกรณ์ที่นำมาตกแต่ง มีความเหมาะสมและสวยงาม ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เนื้อผ้านุ่มสบายเมื่อสวมใส่ รองลงมาได้แก่ รูปแบบของเสื้อพื้นเมืองทันสมัยด้านราคา พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสื้อพื้นเมืองมีความเหมาะสมกับราคา รองลงมา ได้แก่ มีการติดป้ายราคาของเสื้อพื้นเมืองชัดเจน
References
จุรีวรรณ จันพลา. (2554). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กระทรวงวัฒนธรรม: กรุงเทพฯ.
ภิรมย์ แก้วมณี. (2555). การพัฒนาผ้าคลุมไหล่จากผ้าทอมือกะเหรี่ยง กรณีศึกษาหมู่บ้าน กะเหรี่ยง - ตะเพินคี่ หมู่ 5 ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ภาควิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุรชัย ศรีณรงค์ . (2259). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อนัญญา เค้าโนนกอก. (2560 สิงหาคม 12). ผ้าฝ้ายย้อมโคลน. แหล่งที่มา
http://www.m-culture.in.th/album/115750/
Breakenridge, M.E.; & L.Vincent. (1968). Child Development Physical and Psychological Growth Through Adolescence. Philadelphia, W.B.: Saunders.
Hurlock, E.B. (1968). Development Psychology. 3rded. New York: McGraw - Hill.
Kotler, Philip. (2009). Principles of Marketing. New Jersey: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร