การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, กระเป๋าสานจากพลาสติกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติก 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติก และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อ หรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติก จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามทางสื่อออนไลน์
ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติกเป็นการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ ทันสมัย หรูหรา มีรูปทรงที่สวยงาม และสามารถนำไปใช้ได้ในหลายโอกาส 2) ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติก ลายไขว้ สลับ 2 สี มีต้นทุนรวมอยู่ที่ 135.00 บาทต่อใบ ผลตอบแทนอยู่ที่ 250.00 บาทต่อใบ ลายไทย สีน้ำเงิน สีน้ำตาล และสีชมพู มีต้นทุนรวมอยู่ที่ 80.00 บาทต่อใบ ผลตอบแทนอยู่ที่ 120.00 บาทต่อใบ ลายแฮนด์เมด+ฝาปิด มีต้นทุนรวมเอยู่ที่ 95.00 บาทต่อใบ ผลตอบแทนอยู่ที่ 120.00 บาทต่อใบ และ 3) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานจากพลาสติกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.14) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ ด้านการตัดสินใจซื้อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.84) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.25) ด้านผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.20) ด้านประโยชน์การใช้งาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.30)
References
เจษฎา พัตรานนท์. (2553). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานท้องถิ่นโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษากลุ่มจักสานใบกะพ้อ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจฬุาภรณ์ จังหวัดนครศรธีรรมราช. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2552). ปัจจัยที่ม่ีผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัณณวัชร์ พัชราวลัย. (2558). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารเฉพาะกิจที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดนัย เทียนพุฒ. (2543). การบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2552). เครื่องมือเครื่องใช้ไทยประดิษฐ์. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Hunt, H. K. (1977). Conceptualization and measurement of consumer satisfaction and dissatisfaction. Cambridge: MA.
Selnes, F. (1998). Antecedents and consequence of trust and satisfaction in buyer-seller relationships. European Journal of Marketing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร