กระบวนการสร้างสุขของแรงงานพม่าในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
กระบวนการสร้างสุข, แรงงานพม่าบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างสุขของแรงงานพม่าในจังหวัดเชียงราย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุข กระบวนการสร้างความสุขของแรงงานพม่าในจังหวัด เชียงราย และศึกษาวิธีการของผู้ประกอบการในการสร้างความสุขให้แก่แรงงานพม่า ซึ่ง ข้อมูลที่ได้จะทำการสังเคราะห์ พัฒนาองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับสถาน ประกอบการที่มีแรงงานพม่าในจังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม Happinometer แบบสอบถามข้อมูลองค์กร การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม และการสังเกตแบบ มีส่วนร่วม จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานพม่าที่กระจายอยู่ในสถานประกอบการจำนวน ทั้งสิ้น 400 คน 8 อำเภอ 16 สถานประกอบการ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผล ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป นำเสนอสรุปผลแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสุขของแรงงานพม่าในจังหวัดเชียงราย โดยภาพ รวมมีระดับคะแนนความสุข 50.5 สะท้อนให้เห็นว่า บุคลากรในองค์กรอยู่ในระดับ “มีความ สุข” หรือ Happy แต่เมื่อจำแนกตามรายมิติ พบว่า มิติด้านสุขภาพดี มีระดับคะแนนความ สุขร้อยละ 60.4 (Happy) มิติด้านผ่อนคลายดี มีระดับคะแนนความสุขร้อยละ 49.8 (Unhappy) มิติด้านน้ำใจดีมีระดับคะแนนความสุขร้อยละ 52.4 (Happy) มิติด้านจิต วิญญาณดีมีระดับคะแนนความสุขร้อยละ 58.2 (Happy) มิติด้านครอบครัวดีมีระดับคะแนน ความสุขร้อยละ 59.9 (Happy) มิติด้านสังคมดีมีระดับคะแนนความสุขร้อยละ 43.4 (Unhappy) มิติด้านใฝ่รู้ดีมีระดับคะแนนความสุขร้อยละ 54.4 (Happy) มิติด้านสุขภาพ เงินดีมีระดับคะแนนความสุขร้อยละ 54.1 (Happy) และมิติด้านการงานดีมีระดับคะแนน ความสุขร้อยละ 42.8 (Unhappy) สรุปได้ว่าระดับความสุข 3 ลำดับแรกเรียงจากมากไป น้อย คือ ความสุขทางกาย Happy Body ความสุขทางครอบครัว Happy Family และ ความสุขทางจิตวิญญาณ Happy Soul และในส่วนของการไม่มีความสุขของแรงงานพม่า ใน 3 ด้าน เรียงจากน้อยไปมาก คือ ความสุขด้านการงาน Happy Work Life ความสุข ด้านสังคม Happy Society และความสุขด้านการผ่อนคลาย Happy Relax กระบวนการสร้างสุขของแรงงานพม่า จากการสัมภาษณ์การสร้างความสุขใน 3 ด้านได้แก่ การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับตนเอง การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับครอบครัว และการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานชาวพม่า พบว่า ด้านการสร้างความสุขให้ เกิดขึ้นกับตนเอง เกิดจากพลังขับเคลื่อนภายในหรือแรงปรารถนาภายในตัวตนของแรงงาน พม่า แรงงานพม่าส่วนใหญ่ที่เข้ามาในประเทศไทยมีความตั้งใจและมุ่งมั่นต่อการทำงานที่ ตนรับผิดชอบโดยมีเป้าหมายและแรงจูงใจในเรื่องค่าตอบแทนที่ได้รับจากนายจ้าง และขณะ เดียวกันการนำหลักธรรมทางศาสนามาปรับใช้ เช่น การอดทน การอดออมไม่สุรุ่ยสุร่าย การดูแลสุขภาพร่างกายที่ดี ทำให้แรงงานส่วนใหญ่บรรลุตามความปรารถนาของตนเอง การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับครอบครัวด้วยการแสดงความรัก ความรับผิดชอบต่อสมาชิก ในครอบครัว การใช้เวลาพักผ่อนร่วมกันช่วงวันหยุด การเคารพและการแสดงความกตัญญู ต่อบุพการี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักธรรมทางพุทธศาสนาแล้วแรงงานพม่าจะใช้หลักศีล 5 และการครองเรือนที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องชู้สาวและการพนันจะไม่เกิดขึ้นกับแรงงานพม่า การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานชาวพม่าด้วยกัน แรงงานพม่าส่วนใหญ่ใช้หลัก การปรับทุกข์ผูกมิตร เช่น การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความสุขและความทุกข์ร่วมกัน ทำให้ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือกันเมื่อยามเจ็บป่วยโดยเป็นเพื่อนพาไปส่งโรง พยาบาล หรือในยามขาดแคลนเงินทองก็ให้เงินหยิบยืมได้ เป็นต้น วิธีการสร้างความสุขของสถานประกอบการที่ให้กับแรงงานพม่า พบว่า ผู้ประกอบ การส่วนใหญ่สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับแรงงานพม่า เช่น การจัดสวัสดิการที่เหมาะ สมการเพิ่มค่าจ้าง ค่าตอบแทนประจำปีแก่แรงงานพม่า การจัดเลี้ยงปีใหม่และให้ของขวัญ การรับฟังปัญหาและข้อสงสัยของแรงงานพม่า การไม่จุกจิกแต่ให้อิสระในการทำงานตาม ฝ่ายงาน และการเข้าช่วยเหลือกรณีเกิดปัญหากับแรงงานพม่า ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สถาน ประกอบการมีให้กับแรงงานพม่าในจังหวัดเชียงราย ซึ่งทำให้แรงงานพม่าบางส่วนที่ย้ายไป ทำงานที่อื่นได้กลับเข้ามาทำงานยังสถานที่เดิมงานวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลที่ได้เผยแพร่ให้สถานประกอบการ 16 แห่งในจังหวัด เชียงรายและร่วมกันวิเคราะห์ระดับความสุของค์กรเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็น ปัญหาและพัฒนาในส่วนที่ดีให้ดีขึ้น จะเป็นการยกระดับความสุขของแรงงานพม่าในสถาน ประกอบการให้เพิ่มขึ้นด้วย และสถานประกอบการจะได้ประโยชน์ในเรื่องของประสิทธิภาพ ของงานและลดปัญหาด้านแรงงานที่จะตามมา
References
โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย. ผลการสำรวจความ สุขแรงงานพม่าในสถานประกอบการจังหวัดเชียงราย ปี2557. สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557
โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย. แบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER ความสุขวัดเองได้ (ฉบับภาษาพม่า). ลิขสิทธิ์ ลข.300454 : มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. นนทบุรี : ศูนย์องค์กรสุขภาวะ. 2556
อีเลน เพียร์สัน, สุรรีย์พร พันพึ่ง และคณะ. การจ้างแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย : งานหนักจ่ายน้อย และไม่ได้รับการคุ้มครอง เล่มหนึ่ง. องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ. 2549
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร