ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อผลตอบแทนจากยอดขายผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมของผู้ประกอบการร้านค้าในตำบลบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • กัสมา กาซ้อน สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุภมล ดวงตา สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พัทธมน บุณยราศรัย สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ผลตอบแทนจากยอดขาย, ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการ ตลาดกับผลตอบแทนจากยอดขายผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมของผู้ประกอบการร้านค้าในตำบล บ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการร้าน ค้าที่จำหน่ายและผลิตผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมในตำบลบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ คำนวณหาจำนวนตัวอย่าง โดยใช้วิธีการของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่าง 46 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิธีการวิเคราะห์ความถดถอย พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ ระหว่าง 31 – 40 ปี มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ต่ำกว่า 1 – 5 ปี จบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ลักษณะการประกอบกิจการธุรกิจส่วนตัว จำหน่ายสินค้าที่ย้อมประเภทเสื้อ รองลงมา กางเกงและชุดเดรส มีวิธีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการ ตลาดที่มีต่อผลตอบแทนจากยอดขายผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมของผู้ประกอบการร้านค้า ภาพ รวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ 2.1) ด้านผลิตภัณฑ์ในเรื่องลวดลาย มีความสวยงามดึงดูดความสนใจแก่ลูกค้า เหมาะสำหรับซื้อเป็นของฝากและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางของกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มหนุ่มสาวและมีลวดลายที่หลากหลาย 2.2) ด้านราคาในเรื่องมีการจำหน่ายตามราคามาตรฐาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะ สมกับราคาที่ตั้งไว้และมีให้เลือกหลายระดับราคา 2.3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในเรื่อง มีการจำหน่ายในศูนย์ OTOP และร้านจำหน่ายของฝากต่างๆ มีการจัดจำหน่าย ณ สถาน ที่ผลิต (มีหน้าร้าน) และมีการใช้เทคโนโลยีจัดจำหน่าย (ผ่านเว็บไซต์ ออนไลน์) และ 2.4) ด้านส่งเสริมการขายในเรื่องให้ส่วนลด เมื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก พนักงานขายที่มีความรู้ สามารถให้คำปรึกษาได้และให้ของแถมเมื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก ตามลำดับ (3) ปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ กับผลตอบแทนจากยอดขายของผู้ประกอบการร้านค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2549). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนกนาถ มะยูโซ๊ะ. (2555). ศิลปะการออกแบบลวดลายผ้าด้วยการมัดย้อมสีจากธรรมชาติ : ศึกษาเฉพาะ ประเภท รูปแบบ เทคนิคและกระบวนการออกแบบลวดลายด้วยการมัดย้อมผ้า. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง. (2561). ข้อมูลพื้นที่ตำบลทุ่งโฮ้ง. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2561 จาก : http://thunghong.blogspot.com

นฤดล รุดโถ. (2561). แนวความคิดทางการตลาด. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2561 จาก : https://jiradabbc.wordpress.com

นิมิตร ไชยวงค์. (2559). “อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะของผู้บริโภคจังหวัดลำปาง.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 95 – 115.

บุญญรัตน์ กุศลส่ง. (2554). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ : กรณีศึกษา เขตรังสิต จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: บีแอนด์บีพับลิชชิ่ง.

ศักดิพัฒน์ วงศ์ไกรศรี. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4’Cs ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4’Fs ปัจจัยการโฆษณาทางสังคมออนไลน์ และปัจจัยกิจกรรมการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Yamane, Taro. (1973). Statistics and Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017