ความเสี่ยงจากการลงทุนและปัญหาของผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ, ความเสี่ยงจากการลงทุน, ปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลแม่ ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายและเพื่อศึกษาความเสี่ยงจากการลงทุนและปัญหาของ ผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คำนวณหาจำนวน ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่าง 125 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยคือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ระดับ การศึกษาประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกร จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 1-5 ตัว มีพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงโคเนื้อ มีพื้นที่ปลูกหญ้าเองและเลี้ยงโคเนื้อเพื่อจำหน่าย (2) ข้อมูลการจัดการโคเนื้อ ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงโคสายพันธุ์ลูกผสมชาร์โรเล่ส์ มีแหล่งน้ำบ่อบาดาลใช้ในการเลี้ยงโคเนื้อ แหล่งอาหารที่ส่วนตัวหรือไร่นาของตัวเอง มีการสะสมฟาง ข้าว ลักษณะการเลี้ยงขังคอก – ปล่อย การให้อาหารหยาบเป็นหญ้าที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ ข้าวโพดและสับปะรด (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงน้อยมาก ผลตอบแทน จากเงินลงทุนมากกว่า 21% (4) ปัญหาการจัดการของผู้เลี้ยงโคเนื้อ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ 4.1) ด้านการผลิตในเรื่องแม่โคผสมพันธุ์ติดยากและขาดพ่อโคพันธุ์ดี 4.2) ด้านการ ผสมพันธุ์ในเรื่องแม่โคแสดงอาการเป็นสัดไม่ชัดเจนและการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อไป ผสมเทียม 4.3) ด้านเจ้าหน้าที่และการส่งเสริมในเรื่องขาดการรวมกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมขาดทักษะประสบการณ์และการบริการและการส่งเสริมไม่ทั่วถึง 4.4) ด้านราคาและการตลาดในเรื่องถูกกดราคาขายและขาดตลาดกลาง 4.5) ด้านโรคระบาดและสุขภาพ ในเรื่องขาดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคและขาดความรู้การป้องกันโรค 4.6) ด้านอาหารโคเนื้อ ในเรื่องขาดการเก็บสะสมฟางข้าว ไม่มีการปลูกหญ้าและขาดแคลนเมล็ดพันธุ์และ 4.7) ด้านพื้นที่และแรงงานเลี้ยงโคเนื้อในเรื่องขาดแคลนแรงงาน ขาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ และขาดแคลนน้ำใช้เลี้ยงโค
References
กรรณิกา เมฆแดง และคณะ. (2555). การจัดการการผลิตโคเนื้อแบบขังคอกและโคเนื้อแบบปล่อยฝูงในอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคเนื้อ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. (2560). สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 กันยายน 2560. จาก http://www.sinthornmeat.co.th/th/main/content.php?page=sub&category=4&id=8
จิรพร สุเมธีประสิทธิ์. (2561). แนวคิดใหม่วิเคราะห์ความเสี่ยงแผนงาน/โครงการ (Risk Analysis). สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2561 จาก https://chirapon.wordpress.com/2012/09/08/risk-analysis.
ดนัยศักดิ์ เย็นใจ และภาณุ อินทฤทธิ์. (2556). การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อและความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอบ้านค่าย อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง และอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. (รายงานการวิจัย). ระยอง : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง.
นรชัย สหวิศิษฏ์และคณะ. (2559). สภาพการผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขของเกษตรกรที่เลี้ยงโคขุน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560. จาก extension.dld.go.th/th1/images/stories/research/.../research6020211045.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: บีแอนด์บีพับลิชชิ่ง.
ภัทรพงศ์ แสนศาลา และ ชัยชาญ วงศ์สามัญ. (2556). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 10(2), 203-212.
ศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ตาก. (2560). การเลี้ยงโคขุนและหมูหลุม. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2560. จาก http://vintagecars555.blogspot.com/
ส่วนวิจัยเศรษฐกิจปศุสัตว์และประมง. (2549). ต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยงโคเนื้อ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม. (2560). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560 จาก https://www.facebook.com/maekhawtom/
Yamane, Taro. (1973). Statistics and Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร