การออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

Kulanit Sangkatak
สุรกานต์ รวยสูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความนี้เกิดจากการศึกษางานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาผู้ป่วยการใช้งานเตียงที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพารุนแรงในพื้นที่วิจัย 3) เพื่อการประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานเตียงของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยที่มีภาวะติดเตียงในพื้นที่วิจัย มีวิธีการผลิตจากภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่น เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คะแนน  ADL อยู่ระหว่าง 5-13 คะแนน ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบได้มากในพื้นที่ โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลใน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยจำนวน 15 ราย นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบในข้อกำหนดในการออกแบบ โดยใช้เครื่องมือในที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์, แบบสังเกตและแบบสำรวจ  ใช้วัสดุในท้องถิ่นมาผลิต ไม้เนื้อแข็ง ผสานกับเทคนิคภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตเตียงให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ข้อสรุปในการออกแบบเตียงต้องเป็นเตียงที่สามารถปรับระดับได้สามารถขนย้ายได้สะดวกเหมาะกับการขนส่งและยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุรกานต์ รวยสูงเนิน

สาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์

เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพลและคณะ. (ไม่ปรากฏ). รูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงชุมชน. วารสารวิทยาลัย

ราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 (ม.ค.-ธ.ค.2555)

เพ็ญนภา มะหะหมัด. (ไม่ปรากฏ). รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562)

หน้า 51-63.

สมศรี นวรัตน์ . (2559). คัดกรอง...ผู้สูงอายุ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561, จากwww.gotoknow.org/posts/603497.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2559). การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2560) หน้า 57-69.

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์และคณะ. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค.2559) หน้า 54-64.

สมชาย วิริภิรมย์กูลและคณะ. สถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ : กรณีศึกษา อำเภอท่ามะกา และ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยราชสุดา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 14. หน้า 24-42.