ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจากแรงบันดาลใจ ศิลปะถ้ำในจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศิลปะถ้ำในพื้นที่จังหวัดเลย โดยนำลักษณะของศิลปะถ้ำในจังหวัดเลย ที่มีความ แตกต่างจากที่พบในแห่งอื่น คือ มีการร่างเส้นโครงเขียนเส้นคล้ายตารางลงในรูปภาพ และการระบายสีทึบลงบนภาพ โดยส่วนใหญ่ เป็นภาพเขียนบอกเล่าเรื่องราวการล่า สัตว์และภาพมนุษย์ในอริยาบทต่างๆ เป็นภาพที่มีลักษณะเคลือนไหว การเต้นรํา บางภาพแสดงให้เห็นถึงกลุ่มคนและการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลทางภาคเอกสาร หนังสือ ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากการลงพื้นที่ทำการสำรวจ การสังเกต และการจากผลงานที่ได้นำไปสู่การประเมิน
ต้นแบบโดย ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเครื่องปั้นดินเผา และทางด้านการตกแต่งภายใน จำนวน 2 ท่าน
ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยศึกษาศิลปะถ้ำในจังหวัดเลย และนำเอาอัตลักษณ์จากศิลปะบนผนังถ้ำ มาใช้ในการออกแบบเป็น
ผลิตภัณฑ์เครื่อปั้นดินเผา โดยผ่านการทดลองตามกระบวนการทางเครื่องปั้นดินเผา เพื่อค้นหาอัตราส่วนเนื้อดิน การขึ้นรูป เทคนิคตกแต่ง เคลือบ และการเผาให้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ โดยได้ผลของการศึกษาทดลอง ดังนี้ ผู้วิจัยได้ทำงานออก มาเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชุดแจกัน (3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 ขนาดกว้าง 30 ซม. สูง 20 ซม. ชิ้นที่ 2 ขนาดกว้าง 15 ซม. สูง 35 ซม.และชิ้นที่ 3 ขนาดกว้าง 20 ซม. สูง 20 ซม.), ชุดโคมไฟ (3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 ขนาดกว้าง 45 ซม. สูง 50 ซม. ชิ้นที่ 2 ขนาดกว้าง 30 ซม. สูง 50 ซม. และชิ้น ที่ 3 ขนาดกว้าง 20 ซม. สูง 45 ซม.) และปฎิมากรรม (1 ชิ้น ขนาดกว้าง 25ซม. สูง 30 ซม.) โดยใช้ส่วนผสม เนื้อดินหลักในการขึ้นรูป คือดินดำ 70% ดินขาว 10% ควอต 10% และทราย 10% ใช้วิธีการขึ้นรูปด้วยการขดในการขึ้นรูป ส่วนบนของโคมไฟและฐาน ของประติมากรรม การขึ้นรูปแบบแผ่นในผลิตภัณฑ์แจกันและส่วนตกแต่งของประติมากรรม การขึ้น รูปด้วยแม่พิมพ์ปูนปาสเตอร์ ในการขึ้นรูปส่วนฐานของผลิตภัณฑ์โคมไฟ และใช้เทคนิคการตกแต่งบนงานเครื่องปั้นดินเผาที่สอด
คล้องกับแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยผู้วิจัยได้เลือกการตกแต่งด้วยดินสีเพื่อลอกเลียนลักษณะของชั้นหินธรรมชาติ เทคนิค การฉลุเพื่อสื่อถึง ความเป็นถ้ำ เผิงผา และการตกแต่งด้วยการระบายเคลือบสีทองเป็นลวดลายของศิลปะถ้ำ และเผาแกร่งด้วย อุณภูมิ 1200 องศา เซลเซียส
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้แต่งบทความ ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
คนธาภรณ์ เมียร์แมน. (2556). เครื่องปั้นดินเผาไม่เคลือบ.เชียงใหม่ : เจริญวัฒน์การพิมพ์
ณภัทร ทองหุล. (2554). การออกแบบโคมไฟสำหรับประดับตกแต่งภายในอาคาร ความบันดาลใจจากคลื่นทะเล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนสิทธิ์ จันทะรี. (2552). เครื่องปั้นดินเผาขั้นพื้นฐาน.ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นฤดม ปิ่นทอง. (2549). โคมไฟจากลายปลาบนเครื่องถ้วยสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปัทมาวดี จุลภักดิ์. (2554). โครงการออกแบบโคมไฟสำหรับประดับตกแต่งภายในอาคาร ความบันดาลใจจากกระบองเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสพ ลี้เหมือดภัย. (2543). องค์ประกอบในงานเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร
พิสิฐ เจริญวงศ์. (2531). ศิลปะถ้ำในประเทศไทย. กรุงเทพ : สำนักงานสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ.
สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผาพื้นฐานการออกแบบและการปฏิบัติงาน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์ ทรงศรี วิวรรณ แสงจันทร์. (2545). ภาพเขียนสีพิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์. กุงเทพฯ : บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด
อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ. (2549). รูปเขียนดึกดำบรรพ์ ”สุวรรณภูมิ”. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน