เครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ : รูปแบบ ความสวยงาม ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเรื่อง ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของเครื่องประดับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันความสำคัญของเครื่องประดับที่มีต่อเศรษฐกิจไทยในฐานะสินค้า 1 ใน 10 ของการส่งออก การสร้างสรรค์เครื่องประดับกับวิถีชีวิตของผู้คนที่แบ่งเป็น 3 ยุคคือ ยุคแห่งการเรียนรู้ ยุคแห่งการสวมใส่ ยุคแห่งการสร้างสรรค์ โดยที่ ยุคแห่งการเรียนรู้ มี การใช้ความคิดสร้างสรรค์กับงานเครื่องประดับอยู่ในระดับน้อย รูปแบบเครื่องประดับส่วนใหญ่เป็นแบบโบราณ ยุคแห่งการสวมใส่ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในระดับมากขึ้น รูปแบบเครื่องประดับเริ่มพัฒนาเป็นแบบสมัยใหม่   ส่วนยุคแห่งการสร้างสรรค์นั้น เป็นยุคที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาถึงขั้นสูงสุด รูปแบบเครื่องประดับจึงเป็นรูปแบบร่วมสมัยและเป็นแนวศิลปะ รูปแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ จำแนกเป็น 3 ประเภทคือ รูปแบบที่เกิดจากการใช้วัสดุ การใช้เทคนิคการผลิต และการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ในยุคของเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น อาจไม่ใช้ระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สูงมากนัก เพียงแต่สามารถแสดงออกถึงความคิด จินตนาการ ของผู้ออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ที่เด่นชัดและสุดท้ายคือเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน จะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับยุคดังกล่าวได้มากที่สุด เนื่องจากผู้คนเริ่มแสวงหาสิ่งใหม่ให้กับตนเองและไม่ยึดติดกับความคิดเดิม เครื่องประดับจึงมีทั้งรูปแบบที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันและเครื่องประดับแนวศิลปะ (Jewelry Art)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงพาณิชย์. (2562). 10 อันดับ สินค้าส่งออกของไทย.ค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562, จาก https://www.moc.go.th
/index.php/flower-service-all-22/category/category-prod5-cc.html
ชาญณรงค์พรรุ่งโรจน์ .(2548).ความคิดสร้างสรรค์ Creative thinking. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รสชง ศรีลิโก.(2557). เครื่องประดับ. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เล่ม 34 เรื่องที่ 4 (e-book),ค้นเมื่อ30สิงหาคม 2562. จากhttps://kanchanapisek.or.th/kp6
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ.(2561).เครื่องประดับอัตลักษณ์ มรดกอันทรงคุณค่าของไทย.ค้น
เมื่อ 30 สิงหาคม 2562. จาก https://www.git.or.th/information_services.html



เอกสารอ้างอิง (ต่อ)
สุภาวี ศิรินคราภรณ์.(2553).แนวทางการพัฒนาเมืองสวยด้วยการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย : กรณีศึกษา
ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตแห่งชุมชนบ้านแม่หมีในจังหวัดลำปางกับพัฒนาการการสร้างสรรค์สุนทรียภาพของ
เครื่องประดับชาติพันธุ์ร่วมสมัย.(รายงานการวิจัย).กรุงเทพ ฯ : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.
อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล (2561).เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบบจับต้องได้. นิตยสาร คิด, 91 (12), 28-32.
Anthony Roussel.(2019).15 Examples of Very Interesting Contemporary Jewelry. from
https://expostulations.wordpress.com/tag/contemporary-jewelry/
Emiko Oye .(2019).Collections.fromhttps://www.facerejewelryart.com/artist.php?id=116
The Official Jewelry Thread Vol. 11.(2019.September 2).fromhttps://niketalk.com/t/127594/the-official-
jewelry-thread-vol-11-i-sneezed-on-you/27270