ภูมิปัญญาในการพัฒนาเสื่อทอมือลายขิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
เสื่อขิดมีประวัติความเป็นมายาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ลวดลายเสื่อขิดมีความน่าสนใจ เนื่องจากลายขิดในผืนเสื่อเกิดจากการก่อรูปของเส้นพุ่งหรือเส้นแนวนอนเท่านั้นไม่มีลวดลายที่เกิดขึ้นจากเส้นยืน แตกต่างจากการทอผ้าขิดที่เส้นยืนจะปรากฏเป็นส่วนหนึ่งในการก่อรูปลายขิดด้วยและมีการทอเส้นด้ายลายขัดสลับกับเส้นด้ายลายขิดซึ่งไม่มีวิธีการนี้ในเสื่อขิดทอมือ การก่อรูปของลายในเสื่อขิดจะเกิดจากการสลับยกและข่มเส้นพุ่งขึ้นเหนือหรือใต้เชือกเส้นยืนในตำแหน่งตรงข้ามกันเป็นคู่ โดยเส้นลายคู่หนึ่งมักทอซ้ำ 2, 3, 4 หรือ 6 เส้นขึ้นกับขนาดของวัสดุทอ ลวดลายขิดในเส้นพุ่งนี้เป็นลายที่เกิดจากเส้นตรงหรือเส้นเฉียง ลายขิดจึงมักมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแบบต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยมด้านเท่า สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เป็นต้น มีการซ้ำลายไปตามความยาวผืนเสื่อในลักษณะสมมาตรพลิกกลับไปมา ปัจจุบันนิยมใช้ไม้เก็บลายหรือกระบอกเก็บลายที่ทำจากท่อพีวีซีมาช่วยในการทอลายขิดแทนการเก็บลายทีละไม้ ทำให้สามารถทำซ้ำลายทอเสื่อขิดได้ง่าย และมีการจำหน่ายกระบอกเก็บลายกระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆ จึงควรมีการออกแบบและกำหนดลวดลายเฉพาะแต่ละถิ่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์เป็นจุดขายให้แก่ผลิตภัณฑ์เสื่อทอมือลายขิดในแต่ละพื้นที่ได้
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้แต่งบทความ ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ธนกร ภิบาลรักษ์. (2551). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา การทอเสื่อจันทบูรเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ผกามาศ มูลวันดี. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอเสื่อกกของกลุ่มสตรีในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัย์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560. หน้า 8-16.
ฟืมสร้างลายทอเสื่อ (2549). สมรภูมิไอเดีย. สืบค้นจาก https://brainchild.bectero.com/content.php? vid=1958
ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2557). การต่อยอดภูมิปัญญาการทอเสื่อกกโดยการออกแบบและพัฒนาลวดลายด้วยรูปทรงเรขาคณิตของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเสื่อกกบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. นำเสนอในงานการประชุมวิชาการ (การบูรณาการงานวิจัยไทยเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมอาเซียน) นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ครั้งที่ 3, 17 ธันวาคม 2557. หน้า 1-11.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2550). สารานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศรศิลป์ ชุมศรี. (2550). เอกสารประกอบการประดิษฐ์และการใช้ชุดทอเสื่อลายขิต. เอกสารประกอบการสอน โรงเรียนกระเบื้องนอกวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.
ศิริชัย สุขจิตร. (2561). อุปกรณ์ทอเสื่อลายขิต. สืบค้นจาก https://goo.gl/jmmEaw
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 4 และภาค 5. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาภายใต้โครงการการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 4 และภาค 5 ร่วมกับสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี. (2555). ฐานข้อมูลโบราณสถานสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ และ พิชัย สดภิบาล. (2553). วัสดุพื้นถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ใช้ในการผลิตครุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
หลวงวัดประดู่ทรงธรรม. (2516). บูรพาเมืองสวรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมเจริญ.
อักษฎางค์ รอไธสง, ทรงวุฒ เอกวุฒิวงศา และอุดรมศักดิ์ สาริบุตร. (2559). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลวดลายเฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกก กลุ่มพนมรุ้งเสื่อกกและหัตถกรรม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559. หน้า 159-169.
อุมาพร พละสิงห์. (2561). จำหน่ายฟืมทอเสื่อกก. สืบค้นจาก https://goo.gl/RBpKmo
ณรงค์ เชื้อจีน. (25 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์. รองประธานชมรมจิตอาสา เทศบาลนครขอนแก่น.