การศึกษาเทคนิคการนำไจคล้ามาใช้ในการออกแบบพรมประดับตกแต่งภายใน

Main Article Content

นางสาวเนตรนภา หวานเหนือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนัษฎา จุลลัษเฐียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัสดุและคุณสมบัติทางกายภาพเส้นด้ายจากไจคล้า เพื่อศึกษาทดลองกรรมวิธีทางหัตถกรรมในการผลิตเส้นด้ายจากไจคล้า เพื่อศึกษาการย้อมสีธรรมชาติจากเส้นด้ายจากไจคล้า และเพื่อประเมินความพึงพอใจพรมทอมือประดับตกแต่งจากเส้นด้ายจากไจคล้า โดยผู้วิจัยได้ทำการทดลองแยกเส้นใยจากคล้า นำเส้นใยที่ได้มาสางแล้วปั่นเป็นเส้นด้ายคล้าและทอเป็นผืนพรม


จากผลการศึกษาพบว่า ส่วนของไจคล้าที่ทดลองแยกเส้นใยโดยการต้มและแช่ในสารละลายที่มีความแตกต่างกันนั้น มีผลทำให้สีของเส้นใยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ความนุ่มของผิวสัมผัสขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการต้ม ปริมาณของเส้นใยที่ได้ไม่มีความแตกต่างกัน โดยส่วนผสมของสารเคมีในการแยกเส้นใยที่สามารถสางเส้นใยได้ง่ายที่สุดคือ การต้มด้วยโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ด้วยอัตราส่วน 30 g และ เกล็ดสบู่(soap)  ต่อ น้ำ 1,500 ml เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้คล้าจำนวน 100 g จะได้เส้นใยมีสีครีมอ่อน ผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม ปริมาณของเส้นใยที่ได้เท่ากับ 30 g และเมื่อนำเส้นใยที่ได้จากกระบวนการสางเส้นใยจนฟูนุ่มแล้ว นำเส้นใยคล้ามาผสมกับเส้นใยฝ้ายได้ในอัตราส่วน 50 : 50 ผ่านกรรมวิธีทางหัตถกรรมในการผลิตเส้นด้าย ด้วยการเข็นเส้นด้ายแบบโบราณ เส้นด้ายคล้าที่ได้ มีจะมีเส้นใหญ่และหนา มีผิวสัมผัส ที่ไม่เรียบเนียน มีสีน้ำตาลอ่อนสวยงาม มีความเหนียวพอสมควร สามารถนำมาใช้ในงานออกแบบพรมประดับตกแต่งได้ และสามารถทอเป็นผืนพรมได้ จากการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ชื้อที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 6 ด้านนั้น  ผลการนำเส้นด้ายจากไจคล้ามาใช้ในการออกแบบพรมทอมือประดับตกแต่งด้านความสวยงาม (Aesthetic) ด้านประโยชน์ใช้สอย (Function) ด้านรูปแบบและโครงสร้าง (Structure) ด้านวัสดุ (Material) และด้านการดูแลรักษา (Care) ระดับความพึงพอใจมาก จากคุณสมบัติทางด้านกายภาพดังกล่าว เส้นด้ายคล้าจึงถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอีกแนวทางหนึ่งเลือกด้านวัสดุสิ่งทอที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนัษฎา จุลลัษเฐียร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

ชนัญชิดา ยุกติรัตน์. (2557). ลวดลายมัดย้อมในงานหัตถกรรมปอ. กรุงเทพฯ: มหาลัยวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชนัษฎา จุลลัษเฐียร. (2553). การศึกษาเส้นใยและแพรพรรณชนเผ่าลาวเทิงเพื่อพัฒนาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิยาลัยอุบลราชธานี.

ณภัค แสงจันทร์. (2555). การออกแบบชุดโคมไฟจากต้นคลุ้ม-คล้า เพื่อใช้สำหรับห้องนั่งเล่น. การศึกษาอิสระ ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ศราวุธ โตสวัสดิ์. (2554). การศึกษาการแยกใยไผ่สีสุกเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบทางสิ่งทอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งทอ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ [TCDC]. (2556). สินทรัพย์(วัสดุ) ถิ่นอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัท พาโนราม่า ซอย อิ้งค์.

เสาวณีย์ อารีจงเจริญ, นฤพน ไพศาลตันติวงศ์, รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์ และสาคร ชลสาคร. (2556).

การพัฒนาสิ่งทอจากเส้นใยตะไคร้. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

เสาวลักษณ์ คงคาฉุยฉาย. (2549). ศิลปะการตกแต่งเสื้อผ้า. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Ashley Stark Kenner and Chad Stark ; with Heather Smith MacIsaac. [n.d.]. Decorating with carpets : a fine foundation .[n.p] New York : the Vendome press, 2015.

Kate Broughton. [n.d.]. Textile dyeing : the step-by-step guide and showcase .[n.p] USA : Rockport Publishers, 1995.

Rebecca Proctor. [n.d.]. 1000 new eco designs and where to find them .[n.p] United Kingdom : Laurence King Publishing, 2009.

Sarah B. Sherrill .[n.d.]. Carpets and Rugs of Europe and America. .[n.p]: abbeville Press Publishers