การจัดเส้นทางการขนส่งยางรถยนต์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึม กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด

Main Article Content

นิธิมา เตี่ยไพบูลย์
พงศ์ภัค บานชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดเส้นทางขนส่งยางรถยนต์ของบริษัท ABC จำกัด เพื่อเปรียบเทียบการจัดเส้นทางการขนส่งระหว่างวิธีเดิมของบริษัท ABC จำกัด กับวิธีเซฟวิ่งอัลกอริทึมและเพื่อจัดทำแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดเส้นทางการขนส่งยางรถยนต์ เพื่อทำให้เกิดการรวมเส้นทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด  


 


          ผลการศึกษา พบว่า การจัดเส้นทางขนส่งยางรถยนต์ของบริษัท ABC จำกัด ใช้จุดกระจายสินค้า เพียงจุดเดียว โดยมีพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง คือ รถ 4 ล้อ  สำหรับใช้ในการส่งไปยังลูกค้าภายในจังหวัดชลบุรี มีจำนวนรถทั้งสิ้น 5 คัน ซึ่งในแต่ละวัน จะเดินทางคันละ ประมาณ 2–4 เส้นทาง โดยจะบรรทุกได้ไม่เกินคันละ 3–4.5 ตัน รถ 6 ล้อ สำหรับใช้ในการขนส่งถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว โดยมีการกระจายสินค้า ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันเสาร์  โดยรถวิ่งมากที่สุดในวันจันทร์  วันอังคาร และวันพฤหัสบดี  ใช้รถยนต์ในการกระจายสินค้าทั้งสิ้น  5 คัน ในแต่ละวัน สามารถกระจายสินค้าได้ 2–4 เส้นทาง โดยจะบรรทุกได้ไม่เกิน คันละ 4–5 ตัน รถ 10 ล้อ สำหรับใช้ในการขนส่งจังหวัดระยอง  จันทบุรีและตราด โดยเน้นการส่งวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์จำนวน 2 คัน โดยแต่ละคันจะเดินทางถึงร้านค้า 3-5 เส้นทาง โดยจะบรรทุกได้ไม่เกิน 9–10 ตัน เส้นทางการกระจายสินค้า จากจังหวัดในภาคตะวันออก  ระยะทางก่อนคำนวณ ค่า Saving s(i,j) ภาพรวม 12 เดือน คิดเป็น 307,915.20 กิโลเมตร เมื่อคำนวณ ได้ค่า Saving s(i,j)  ได้ภาพรวม 12 เดือน 20,688 กิโลเมตร สามารถประหยัดเส้นทางในการเดินทางคิดเป็นร้อยละ 6.72

Article Details

How to Cite
เตี่ยไพบูลย์ น., & บานชื่น พ. (2022). การจัดเส้นทางการขนส่งยางรถยนต์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึม กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 17(2), 13–29. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/255556
บท
บทความวิจัย

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551). การจัดการขนส่ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิชั่นพรีเพรส.

นคร ไชยวงศ์ศักดา และคณะ. (2558). การจัดเส้นทางการขนส่งโดยใช้เซฟวิ่งอัลกอริทึมและตัวแบบปัญหาการ

เดินทาง ของพนักงานขาย กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม. วิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการ คณะ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2562) ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม

แหล่งที่มา:https://www.krungsri.com/bank/th/Other/researoutlook.html?page=3 สืบค้นเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563

พิมพ์ชนก ทำนอง. (2552). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าจากจุดส่งเดียว กรณีเปรียบเทียบวิธีการแบบ

ฮิวริสติกส์และวิธีการเชิงพันธุกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พีระวัฒน์ โชคณัติ และคณะ. (2556). วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างเพื่อแก้ปัญหาการจัดเส้นทายานพาหนะ.

เอกสารประกอบการประชุมข่ายงานการวิจัยการดำเนินงานแห่งชาติ.

พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์ และคณะ. (2561). ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง. ภาควิชา

สถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการ

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 28 ฉบับที่ 2

ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร, (2557). การลดต้นทุนการขนส่งโดยการจัดเส้นทางพาหนะที่เหมาะสม.กรณีศึกษา : ธุรกิจเครื่องดื่มชานม. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ ประจำเดือน พฤษภาคม 2557.

รวีโรจน์ ป้องทรัพย์. (2563). การจัดเส้นทางขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์กรณีศึกษาบริษทัขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์.

งานนิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รัฐกร แตงแสงจันทร์. (2558). การจัดเส้นทางเดินรถเพื่อส่งสินค้าหลายจุดที่มีเงื่อนไขกรอบเวลาและข้อจำกัด

เวลาการทำงาน. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนางานอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วนัชพร จันทรักษา และ สรรวิทย์ เชื้อพิสุทธิ์กุล. (2561). โปรแกรมจัดเส้นทางขนส่งโดยวิธีแบบประหยัด

กรณีศึกษา การขนส่งอาหารทะเลสดไปจุดจำหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพฯและปริมณฑล. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561.

วัชรีวรรณ แสงน้อย และ ณภัทร ศรีนวล. (2561). การจัดเส้นทางขนส่ง โดยใช้วิธีเซฟวิ่งอัลกอรึทึ่ม กรณีศึกษา

บริษัท AAA จํากัด. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม พระเกียรติ. วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 : 1178

วารินทร์รัตน์ รินมุกดา และคณะ. (2559). การศึกษาหารูปแบบการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสมเพื่อ

ลดต้นทุนค่าขนส่ง: กรณีศึกษา บริษัทขายผลไม้ ABC. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญา ภิวัฒน์. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2559.

สุเมธ ศรีสัมพันธ์. (2560). การจัดเส้นทางขนส่งสินค้าสำหรับบริษัทจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษา

บริษัทเอโอเอฟ อิเล็กทริคแอนด์ดีไซน์ จำกัด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต. สาขาวิชา

การจัดการทางวิศวกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและ วิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2561). ออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม

https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=intro

อัครพล ชุณหเกียรติ์สกุล. (2559). การลดต้นทุนการขนส่งของบริษัทขนส่ง กรณีศึกษา ศูนย์กระจายสินค้า

จังหวัดเพชรบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Emrana Kabir Hashi and et al., (2015). A Heuristic Solution of the Vehicle Routing Problem to

Optimize the Office Bus Routing and Scheduling using Clarke & Wright's Savings Algorithm. 1st International Conference on Computer & Information Engineering, 26-27 November, 2015.

José Cáceres-Cruz and et al., (2013). Applying a savings algorithm for solving a rich vehicle

routing problem in a real urban context. Lecture Notes in Management Science (2013) Vol. 5: 84–92.

Krulik, S., & Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and problem solving:A handbook forelementary

school teachers [Mimmeograph]. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Lambert, D. M., Stock, J.R., & Ellran, L.M. (1998). Supply chain and logistics. Management:

McGraw-Hill.

Louis Caccetta and et al., (2013). An Improved Clarke and Wright Algorithm to Solvethe Capacitated Vehicle Routing Problem. TASR - Engineering, Technology & Applied Science Research Vol. 3, No. 2, 2013, 413-415.

Tantikorn Pichpibul and et al., (2012). New Enhancement for Clarke-Wright Savings

Algorithm to Optimize the Capacitated Vehicle Routing Problem. European Journal of Scientific Research ISSN 1450-216X Vol.78 No.1 (2012)