การจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่อดีตจนถึงสภาพปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นชาวไทยที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ เกาลูน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้น ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัวจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 ท่าน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ โดยอาศัยการแนะนำของกลุ่มตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลไปแล้วที่ตรงกับผู้วิจัยต้องการ ผลการวิเคราะห์พบว่า มีปัจจัยทั้ง 10 ประการที่มีความสำคัญต่อการจัดตั้งชุมชนชาวไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านอาชีพมีการพัฒนาในด้านรายได้ของสมาชิกเกิดจากฮ่องกงมีสภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย, ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมฮ่องกงมีการพัฒนาในด้านสาธารณูปโภคอย่างรวดเร็วเนื่องจากฮ่องกงเป็นเมืองที่มียุทธศาสตร์ทางการค้า, ปัจจัยด้านขนาดของชุมชนมีการพัฒนาการทางด้านรายได้ของสมาชิกจึงความพยายามรวมตัวกันเพื่ออาศัยอยู่ในชุมชน, ปัจจัยด้านความหนาแน่นของประชากรฮ่องกงมีการจัดการผังเมืองใหม่จึงเกิดเป็นแหล่งชุมชนคนไทยในย่านเกาลูน, ปัจจัยความต่างแบบหรือความเป็นแบบเดียวกันของประชากรมีการสร้างบรรยากาศเป็นเอกลักษณ์ไทยจนหลากหลายผู้คนได้รับรู้, ปัจจัยด้านความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคมมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้, ปัจจัยด้านการเคลื่อนที่ทางสังคมคนไทยมีจุดมุ่งหมายมาเพื่อยกระดับรายได้ทั้งนี้เดินทางระหว่างไทยกับฮ่องกงมีความสะดวก, ปัจจัยด้านระบบของการกระทำระหว่างกันมีการรวมกลุ่มของสมาคมรวมไทยในการประสานกิจกรรมต่างๆทำให้สมาชิกในชุมชนเริ่มเห็นประโยชน์จากความร่วมมือนำไปสู่ปัจจัยด้านสมาชิกมีจิตสำนึกต่อสาธารณะจึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฮ่องกงเพื่อช่วยเหลือคนไทย และปัจจัยด้านสวัสดิการของภาครัฐคนไทยคำนึงถึงประโยชน์จากการได้รับสิทธิต่าง ๆ มีความพยายามต้องวิซ่าถาวรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตน
จากผลการวิจัยนำไปกำหนดแนวทางและพัฒนาส่งเสริมให้ชุมชนคนไทยให้มีความแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นโดยผ่านการผสานความร่วมมือทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสมาชิกในชุมชน ภาครัฐฮ่องกง และภาครัฐไทย ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.