การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ ชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

นวพร ประสมทอง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ                 เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา  ความต้องการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ  เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีกลุ่มออมทรัพย์ตำบลท่าโพ  ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ประชากร คือ สมาชิกและคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ  จำนวน 1,345 ราย โดยทำการเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 100 คน ใช้วิธีดำเนินงานวิจัยโดยทำการวิเคราะห์  SWOT  ร่วมกับเทคนิค AIC  นำมากำหนดกลยุทธ์ด้วยการวิเคราะห์  TOWS Matrix  เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์  การสังเกต  แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจของหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t – test ( Paired t – test)

ผลการศึกษา สภาพปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ พบว่า  สมาชิก

กลุ่มเกือบทั้งหมดขาดความรู้ เรื่อง  กฎและระเบียบของกลุ่มที่ชัดเจน  บทบาท หน้าที่ที่ควรรู้และพึงรับทราบ ขาดการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกและเยาวชน  ขาดการสร้างแรงจูงใจให้แก่สมาชิกถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ ขาดการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกอย่างทั่วถึงและเป็นระบบ  สมาชิกยังขาดการช่วยกันแสดงความคิดเห็น ขาดเงินทุนหมุนเวียนให้สมาชิกกู้ยืมเพิ่มขึ้น สมาชิกบางคนไม่ค่อยเข้าร่วมการประชุม ขาดการชักนำให้กลุ่มเยาวชนเห็นคุณค่าของการออมเงินเพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพิ่มขึ้น ไม่ค่อยมีการจัดกิจกรรมให้กรรมการและสมาชิกไปศึกษาดูงานในสถานที่อื่นๆ สมาชิกบางคนยังขาดวินัยในการส่งเงินกู้ยืมในระยะเวลาที่กำหนด และเยาวชนคนรุ่นใหม่ยังไม่ค่อยเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การเป็นคณะกรรมการของกลุ่ม ฯ การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ  ได้แก่ การจัดทำบัญชี การรับฝากเงิน  การจ่ายเงินปันผล  การจ่ายเงินกู้  และการศึกษาดูงานนอกสถานที่  ผลการทดสอบความแตกต่าง post> pre โดยใช้สถิติทดสอบ Paired  t – test พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติ   =  .01  แสดงว่า  post>pre

Article Details

How to Cite
ประสมทอง น. (2016). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ ชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 10(2), 11–24. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/52144
Section
บทความวิจัย