กลยุทธ์การสร้างโอกาสและช่องทางการจัดจำหน่ายธุรกิจประกันชีวิต ใน สปป. ลาว (นครหลวงเวียงจันทน์)

Main Article Content

รภัสศา สิทธิราช
สุชนนี เมธิโยธิน
สมโภชน์ วัลยะเสวี
นนท์ สหายา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาช่องทางการจัดจำหน่าย และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจประกันชีวิต ใน สปป. ลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่เคยทำธุรกิจประกันชีวิตใน สปป. ลาว และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำธุรกิจประกันชีวิตใน สปป.ลาว เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Content analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการติดต่อบุคลากรหรือหน่วยงานเมื่อต้องการขายประกันชีวิตใน สปป. ลาว พบว่า สมัครเป็นตัวแทนติดต่อบริษัทประกันใน สปป. ลาว ถ้าขายประกันให้บุคคลทั่วไปติดต่อผู้ซื้อโดยตรง ขายประกัน กลุ่มติดต่อเจ้าของบริษัทหรือผู้ที่ดูแลสวัสดิการ 2) วิธีการขายประกันชีวิตให้คน สปป. ลาว เริ่มจากการขายให้คนรู้จัก ในจังหวัดหนองคาย หรืออุดรธานี เพื่อบุคคลดังกล่าวแนะนำและบอกต่อ 3) ช่องทางจำหน่ายประกันชีวิตที่ ผู้บริโภค ให้การยอมรับ คือ ตัวแทน ด้วยอุปนิสัยของคน สปป. ลาว ชอบการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความเชื่อใจ ให้ความเป็นกันเอง ช่องทางตัวแทนจึงตอบสนองความต้องการได้มากกว่าช่องทางอื่น 4) อุปสรรคและโอกาสการทำธุรกิจประกัน ชีวิตใน สปป. ลาว อุปสรรค : ความเข้าใจ การรับรู้ การประกันชีวิตของประชาชน รายได้ของประชากร การสนับสนุนจากภาครัฐ โอกาส : ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประกันชีวิตให้ประชาชนรับรู้การสนับสนุนจากภาครัฐ การเปิดเขตการค้า เสรี 5) ข้อกฎหมายที่นักลงทุนต่างประเทศควรศึกษา เมื่อทำธุรกิจประกันชีวิตใน สปป. ลาว คือ ข้อกฎหมายการประกันชีวิต อยู่ในบทกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2554 และบทกฎหมายว่าด้วยการลงทุน 6) การดำเนินการ ลงทุนธุรกิจประกันชีวิตใน สปป. ลาวให้ติดต่อกระทรวงแผนการและการลงทุน กระทรวงการเงิน และกระทรวงการค้า 7) อัตราส่วนการร่วมทุนธุรกิจประกันชีวิตของ สปป. ลาว ไม่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างประเทศเพราะจะ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ร่วมทุนทั้ง 2 ฝ่าย

 

STRATEGIC OPPORTUNITIES AND DISTRIBUTION CHANNELS OF LIFE INSURANCE VIENTIANE CAPITAL LAOS PDR

Rapassa Sitthirach, Suchonee methiyothin, Sompote Valyasevi and Nont Sahaya

Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand

The present study was a qualitative study which aimed to examine matters of law for life insurance business and distribution channels of life insurance business in Laos People’s Democratic Republic. The data was from two groups of participants, i.e. participants who had done life insurance business and those who took parts in the life insurance business in Lao People’s Democratic Republic. Data was collected through interviews. Then content analysis was utilized to analyze the data. The findings revealed that: 1) In order to be an insurance agent in Laos People’s Democratic Republic, one must apply with insurance companies in Laos PDR. To offer the insurance to people, an insurance agent could contact with buyers directly; meanwhile, he had to contact with company’s owners or officers who were in charge of welfare. 2) Before selling the life insurance to Laotians, it should be sold to Thai people in Nong Khai Province or Udonthani Province. These Thai people will introduce the product by word of mouth. 3) The appropriate and most accepted distribution channel of life insurance business was the agent. Since Laotians were generous, sincere, friendly, agent channel matched with this need. 4) Opportunities and obstacles in doing life insurance business in Laos People’s Democratic Republic were found. Findings on opportunities were building perception on life insurance through propaganda, support from government, and the ASEAN Economic Community (AEC). Furthermore, the obstacles were perception and value of life insurance, people’ income, lack of advertising and lack of support from government. 5) Limitations that foreign investors of life insurance business should consider was matters of law of life insurance included in the insurance law (revised edition 2011) and the investment law. 6) Process of running life insurance business in Laos People’s Democratic Republic included (1) ask for permission on investment from Ministry of Planning and Investment, (2) request license of insurance business investment at Ministry of Finance, (3) request the business registration at Ministry of Commerce, and (4) register to pay revenue at Ministry of Finance. 7) The matters of law on proportion of co-investment in life insurance business of Laos PRD had no effect on decision of foreign investors since the proportion depended on agreement between joint investors.

Article Details

How to Cite
สิทธิราช ร., เมธิโยธิน ส., วัลยะเสวี ส., & สหายา น. (2016). กลยุทธ์การสร้างโอกาสและช่องทางการจัดจำหน่ายธุรกิจประกันชีวิต ใน สปป. ลาว (นครหลวงเวียงจันทน์). Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 8(1), 93–104. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47481
Section
บทความวิจัย