ศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

วัชรี กำจัดโศรก
ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างใน การวิจัย เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก สินค้ากับประเทศจีน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 ราย และโดยการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพด้านความสามารถของตนเอง ผู้ประกอบการมีทั้งความสามารถด้านการบริหารจัดการ ทางธุรกิจ ความสามารถทางความคิดและสติปัญญา ความสามารถทางการพูดและการเจรจา ความสามารถทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถทางด้านความกล้าและความพยายาม ศักยภาพด้านการตระหนักถึงโอกาส พบว่า ผู้ประกอบ การมีโอกาสทางด้านการตลาด โอกาสจากตัวผลิตภัณฑ์หรือตัวสินค้า โอกาสจากคำแนะนำที่ดี โอกาสด้านภูมิประเทศและ ขนาดประชากร และโอกาสจากนโยบายทางการค้าของประเทศ ศักยภาพด้านความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค พบว่า ผู้ประกอบการมีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคทางด้านคุณภาพสินค้า เอกสาร แรงงาน ความเสี่ยง ระยะเวลา การจัดส่งสินค้าและการขนส่งสินค้า ศักยภาพด้านการจัดการทุนมนุษย์และทุนทางสังคม พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ศึกษาหลักสูตรระยะสั้น เรียนรู้รวดเร็ว และตลอดเวลา มีประสบการณ์ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความรับผิดชอบ การฝึกอบรม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ศีลธรรม ความซื่อสัตย์ ขยัน ตรงต่อเวลา มีค่าตอบแทนและการดูแลที่เหมาะสม ระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี การมีมนุษยสัมพันธ์หรือการมีพันธมิตรที่ดี การสื่อสารด้วยภาษาจีน การเจรจาต่อรอง ความไว้วางใจ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระบบความคิดและความรู้

 

POTENTIAL OF THE OWNERS OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISE OF PRODUCT IMPORT AND EXPORT BETWEEN THAILAND AND PEOPLE’S REPUBLIC OF CHINA

Watcharee Kamjudsrok and Sarunya Lertputtarak

Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand

The research had objectives to study the small and medium enterprise’s owners who had success strategies. The sample consisted of 13 entrepreneurs. In-depth interview and group discussion were used for data collection.

The findings revealed that for the entrepreneurs’ potential, they had ability of business management, ability of thought and intelligence, speech and negotiation skills, moral skills, and ability of knowledge and effort. For the potential of the awareness of opportunities, it was found that the entrepreneurs had the following opportunities: marketing, products, good advice, geography and population size, and the national trade policy. For the potential of the ability to overcome obstacles, it was found that the entrepreneurs were able to overcome the obstacles of product quality, documents, labor, risks, and terms of delivery and shipping. For the entrepreneurs’ potential of human and social capital management, it was found that the factors that entrepreneurs did or had were as follows: furthering their studies; attending short training courses regularly; gaining experiences, responsibilities, culture and tradition, lifestyle, moral, honesty, diligence, punctuality; maintaining good health; giving suitable compensation and proper care; having good human resource management, good relationship and alliances, ability to communicate and negotiate in Chinese; having trust, and knowing how to exchange knowledge , and having systems of thought and knowledge.

Article Details

How to Cite
กำจัดโศรก ว., & เลิศพุทธรักษ์ ศ. (2019). ศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 9(2), 111–126. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47139
Section
บทความวิจัย