แนวทางการนำหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ

Main Article Content

เพ็ญพิชชา เกษมพงษ์ทองดี
บรรพต วิรุณราช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง ขั้นตอน และช่องทางการระดมทุนในการจดทะเบียนบริษัท ของหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต แบบ EDFR กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือก แบบเจาะจง ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ด้านการจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับ ด้านกฎระเบียบของภาครัฐ ด้านตลาดทุน และด้านการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัย จำนวนผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์รอบที่ 1 จำนวน 30 ท่าน ส่วนรอบ 2 และ รอบ 3 คงเหลือจำนวนผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 27 ท่าน

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการจดทะเบียนบริษัทของหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 พบ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การ ดำเนินการจะต้องทำธุรกิจภายใต้วัตถุประสงค์ของวิทยาลัย นำรายได้มาพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบกิจการลักษณะ ที่จะไม่แข่งขันกับภาคเอกชน ผู้บริหารจะต้องไม่มีความทับซ้อนของผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย สินค้าควรเน้นประเภท วิชาการ งานวิจัย การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างนวัตกรรมสินค้า 2) ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทของหน่วยธุรกิจ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เริ่มจากการนำเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ลงทุนกับบริษัท เทาทองทรัพย์สิน จำกัด ในอัตราส่วน 1:1 หรือจัดตั้งสมาคมก่อน หรือจากการรับบริจาคทรัพย์สินจาก ภาคเอกชน การเตรียมตัวใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ภายใต้ทุนจดทะเบียนมากกว่า 20 ล้านบาท เมื่อได้รับการอนุมัติเป็นบริษัท มหาชนจึงกระจายหุ้นและขายหลักทรัพย์ โดยบริษัทควรถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 และกันส่วนไว้กับผู้ที่จะถือหุ้นไว้ โดยไม่ขายหุ้นมากกว่าร้อยละ 2 เพื่อบริหารความเสี่ยงที่จะถูกโอนถ่ายกรรมสิทธิ์ และมหาวิทยาลัยรับการแบ่งผลกำไร จากบริษัทจดทะเบียนในรูปเงินปันผล ตามจำนวนหุ้น และนำรายได้ไปพัฒนาการศึกษา 3) ช่องทางการระดมทุน ได้แก่ เงินลงทุนจากรายได้ทุกประเภทที่วิทยาลัยสามารถจัดหามาได้รวมถึงเงินบริจาค หรือแหล่งเงินทุนจากการยืมของคณะอื่นๆ

 

THE ROADMAP FOR GRADUATE SCHOOL OF COMMERCE, BURAPHA UNIVERSITY TO BE LISTED COMPANY IN MARKET FOR ALTERNATIVE INVESTMENT (mai)

Penphicha Kasemphongthongdee and Banpot Wiroonratch

Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand

This qualitative study aims to examine roadmaps and process of business unit of Graduate School of Commerce, Burapha University (GSC Enterprise) for registering in the Market of Alternative Investment (mai) in which it does not infringe Constitute of the Kingdom of Thailand 2550 BE, financing procedure for bringing GSC Enterprise into mai. The samples derived from purposive sampling are 30 experts, and Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) methodology is used for illustrating GSC Public Company. Then, the second and third rounds remaining 27 experts. The Expert those with legal experience. Management in the university Regulation of the Public Sector, Capital Markets and Business Management Institute. The findings show three forecasting illustrations of GSC Enterprise: 1) the roadmaps of Graduate School of Commerce should operate in accordance with the objectives of Burapha University , bring the profit to development education of university, will not compete with the private sector. Then the managers will be no overlapping of benefits and focusing advanced academic research, intellectual property to create innovative products; finally, it allows GSC Enterprise to get into mai as GSC Public Company. 2) Procedure of Registration of Business School of Commerce to mai. From the proceeds of the investment join with ThaoThong SubSin company in the ratio of 1: 1the first. Or of property from private donations. Prepare to spend at least two years under the registered capital of 20 million baht, it distributed shares and securities. The company should hold less than 50 percent, and each of them with those who will not sell the shares held by more than 2 percent to manage risk is to transfer ownership. And receive profit form of dividends on the shares, and the income to education, 3) channel of funding, such as investment income from all types of colleges can supply, including donations.Or sources of funds borrowed from the other department of university.

Article Details

How to Cite
เกษมพงษ์ทองดี เ., & วิรุณราช บ. (2019). แนวทางการนำหน่วยธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 9(2), 68–80. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47118
Section
บทความวิจัย