ECOTOURISM ACCESS PATTERN: THUNG RAK VILLAGE KURABURI DISTRICT, PHANG NGA PROVINCE

Main Article Content

Jirat Chokariyapitak
Suchonnee Methiyothin
Thanes Maneekul

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามเชิงปริมาณกับนักท่องเที่ยวจำนวน 300 คน ถึงเส้นทางในการเดินทางมาท่อง เที่ยว จังหวัดพังงาเพื่อประเมินการรับรู้/ความต้องการในการมาเที่ยวจังหวัดพังงาโดยใช้การวิเคราะห์แปลค่าด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวโดยใช้ค่า สถิติ One-way ANOVA, F-test และในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการตรวจ สอบความแตกต่างเป็นรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระดับความเชื่อมั่น 95 % และสมการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า การศึกษารูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อกำหนดนโยบายการส่งเสริมการท่อง เที่ยวแบบห่วงโซ่คุณค่า: บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ได้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย  1).รูปแบบการประชาสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้สื่อ ซึ่งประกอบด้วยอันดับที่ 1 ทวิตเตอร์ โดยเกี่ยวข้องกับปัจจัย ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 2 โดยการบอกต่อเพื่อนจะมีองค์ ประกอบ การบอกต่อด้านพื้นที่ ด้านกิจกรรมและด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 3 เรื่องสื่อการท่องเที่ยวของรัฐ โดยพูดถึงองค์ประกอบด้านพื้นที่ ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม  และอันดับที่ 4อินสตาร์แกรม ในหัว ข้อ ด้านกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วม ซึ่งทุก ๆ ด้านมีความสำคัญ ที่จะทำให้สื่อการประชาสัมพันธ์การท่อง เที่ยวประสบความ สำเร็จ 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งมีองค์ประกอบ อันดับที่ 1 การท่อง เที่ยวที่เกาะพระทอง มีองค์ประกอบด้านพื้นที่ อันดับที่ 2 กิจกรรมการกางเต้นท์ จะมีปัจจัย ที่เกี่ยวข้องคือ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 3 ทะเลแหวกหนวดมังกรมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านพื้นที่ อันดับ 4การอนุรักษ์พันธุ์ไม้การส่องสัตว์มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ และอันดับที่ 5 ทัศนศึกษามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ด้านกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านพื้นที่ 2) ด้านการจัดการ 3) ด้านกิจกรรมและกระบวนการและ 4) ด้านการมีส่วนร่วม รวมทั้งชุมชนกับนักท่องเที่ยวจะทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความมั่นคงและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
Chokariyapitak, J., Methiyothin, S., & Maneekul, T. (2019). ECOTOURISM ACCESS PATTERN: THUNG RAK VILLAGE KURABURI DISTRICT, PHANG NGA PROVINCE. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 14(2), 66–79. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/201205
Section
บทความวิจัย