ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง บริษัทในธุรกิจอ้อยและน้ำตาล ของกลุ่มมิตรผล ประเทศไทย สปป.ลาว และจีน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความพร้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือบริษัทในธุรกิจอ้อยและน้ำตาล ของกลุ่มมิตรผล ประเทศไทย สปป.ลาว และจีน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.966 ซึ่งผ่านการตรวจพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของมหาวิทยาลัย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นสัดส่วน โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บได้และใช้ในการวิเคราะห์ 1,392 ราย การวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความพร้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความพร้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง บริษัทในธุรกิจอ้อยและน้ำตาล ของกลุ่มมิตรผล ประเทศไทย สปป.ลาว และจีน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไคสแควร์ มีค่าเท่ากับ 189.660 ค่าองศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 155 ค่าไคสแควร์ต่อองศาอิสระ () มีค่าเท่ากับ 1.224 ค่าความสอดคล้อง (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.988 ค่าความสอดคล้องปรับแก้ (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.979 ดัชนีวัดเปอร์เซ็นต์ความกลมกลืน (NFI) เท่ากับ 0.993 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.013 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.007 โดยตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงได้ร้อยละ 94.80 (R2 = 0.948) ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลให้กลุ่มมิตรผล ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในระดับ World Class Organization ทั้งนี้กลุ่มมิตรผลควรสร้างความพร้อมให้กับพนักงานในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกสภาวการณ์ สร้างความเข้าใจให้พนักงานเกิดการยอมรับและเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง โดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในขณะเดียวกันองค์กรต้องพร้อมในตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ABSTRACT
This paper aims to study the determinants correlation model causing the change readiness for becoming the high-performing organization as well as to examine the correlation between the model and the empirical fact. The target population is the staff working for the cane and sugar business units of Mitr Phol Group in Thailand, Lao PDR, and China. The research instrument is the five-scale rating questionnaire whose significance level is 0.966. The research verification has been done by the research ethics committee. The writer has decided to take a proportionate random. The sample size is 1,392 staff.
After having been analyzed, the model shows that the change readiness of Mitr Phol correlates with the empirical fact. It has been found that the Chi Square equals 189.660, df equals 155, X2/df equals 1.224, GFI equals 0.998, AGFI equals 0.979, NFI equals 0.993, RMSEA equals 0.013, and RMR equals 0.007. All variables reveal the variance of high-performing organization at 94.80 percent (R2=0.948). The change readiness directly influences the high-performing organization. It is noteworthy that the change readiness levels of Mitr Phol affect its direction to achieve the world-class’ high-performing organization tier. Therefore, it is suggested that the adaptability for change readiness should be prepared beforehand. The practice has the staff recognize the necessity for change and continually participate in the change readiness creation through every communication channel. These emphasize on the change, meanwhile, Mitr Phol needs to be ready for change.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.