องค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา พรมอารักษ์ สาขาวิชาการบริหารพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ สาขาวิชาการบริหารพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เอกลักษณ์ เพียสา สาขาวิชาสาขาวิชาการบริหารพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.23

คำสำคัญ:

องค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา, องค์ประกอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ซึ่งมีวิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่งเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน 2) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เกี่ยวกับองค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน และ 3) การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนจากการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นคุณภาพบุคลากร (2) การมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) การนำองค์กร (4) การบริหารเชิงกลยุทธ์ (5) วัฒนธรรมองค์กร และ (6) นวัตกรรมองค์กร และ 2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.81, SD = 0.39) และมีความเป็นไปได้ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.79, SD = 0.44)

References

ภาษาไทย

จตุพร งามสงวน และ สุพัฒนา กอมบุปผา (2560). รูปแบบการพัฒนาองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 5(1), 101-115.

จิตราภา อุ่นเจริญ. (2566). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของโรงเรียน ในสังกัดสำคัญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(3), 127-140.

จุฑากาญจน์ เก่งกสิกิจ และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1141-1156.

ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรสมรรถนะสูงขององค์กรมหาชน.

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิด.

ทัตเทพ ทวีไทย และคณะ (2566). สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรต่อการธำรงรักษาบุคลากร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 17(2), 183-197.

บัณฑิตา สิทธิพงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกังองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1205-1221.

พีรดาว สุจริตพันธ์ และ เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐในบริบทระบบราชการ 4.0. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 383-395.

เพ็ญศรี ลี้สุวรรณกุล. (2559). การพัฒนาองค์การให้มีสมรรถนะสูง: กรณีศึกษาสำนักพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ภัทรวดี เข้มแข็ง. (2567). การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา, 1(4), 93-109.

รัตติกาล โสวะภาส และคณะ (2566). กลยุทธ์การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 122-139.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วินุลาส เจริญชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 102-108.

ศุภวิชช์ วงษ์พลบ. (2566). องค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(1), 131-140.

สมคิด สกุลสถาปัตย์ (2562). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์การสมรรถนะสูงโดยใช้พลังร่วมเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(1), 207-233.

สรรเพชญ โทวิชา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุกัญญา พรมอารักษ์. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อองค์กรขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(1), 83-94.

สุภาพร โสภิณ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. [วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สำนักพิมพ์บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ธีระนันต์ โมธรรม. (2566). องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 77-92.

ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2564). องค์ประกอบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสมรรถนะสูง. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุชา ม่วงใหญ่. (2565). บทบาทการนำองค์กรของ ร.ร.นายเรือตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสารธรรมวัตร, 3(1), 1-11.

ภาษาอังกฤษ

De Waal, A.A and Akaraborworn, C. T. (2012). Is the high performance organization framework suitable for Thai organizations?. Measuring Business Excellence, 17(4), 76-87.

Roffey Park’s. (2014, August 15). Research the Management agenda 2014. https://shorturl.asia/JEAcL

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

พรมอารักษ์ ส. ., เพ็งสวัสดิ์ ว. ., & เพียสา เ. . (2024). องค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(2), EDUCU5202006. https://doi.org/10.14456/educu.2024.23