ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E บนคลาวด์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2024.25คำสำคัญ:
การสื่อสารวิทยาศาสตร์, รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E, คลาวด์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E บนคลาวด์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E บนคลาวด์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 30 คน โดยมีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E บนคลาวด์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนหลังเรียนอยู่ในระดับดี 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมของความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยรวมของความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และระหว่างเรียนครั้งที่ 2
References
ภาษาไทย
กุลชัย กุลตวนิช. (2557). ระบบการเรียนบนห้องเรียนเสมือนแบบคลาวด์ตามแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46017
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ญาสุมิน วรกิจจานนท์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts//HMO8.pdf
ธนกร อรรจนาวัฒน์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/51076/1/5783439627.pdf
ธาดาพนิตสดี ศุกลวิริยะกุล. (2560). ผลของการเรียนรู้แบบโมบายเลิร์นนิงบนคลาวด์ร่วมกับ 4Ex2 ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).
https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/58433/1/5883347627.pdf
ปฐมสุดา อินทุประภา. (2562). การสื่อสารวิทยาศาสตร์ในบริบทนักวิทย์ไทย. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/140358
ปณาลี สติคราม. (2562). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78023
พัทธมน วิริยะธรรม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 140-152.
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2557). วิทยาศาสตร์กับการสื่อสาร. บริษัท เอพริน เรน พริ้นติ้ง จำกัด.
ศุจิกา จาตุรนต์พงศา. (2557). ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์ที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual
Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46013
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567). ผลการประเมิน PISA 2022 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดและประเมินผลวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
ภาษาอังกฤษ
Aaron, L. S., & Roche, C. M. (2012). Teaching, learning, and collaborating in the cloud: Applications of cloud computing for educators in post-secondary institutions. Journal of Educational Technology Systems, 40(2), 95-111. https://www.learntechlib.org/p/72138/
Bybee, R. W., Taylor, J. A., Gardner, A., Van Scotter, P., Powell, J. C., Westbrook, A., & Landes, N. (2006). The BSCS 5E instructional model: Origins and effectiveness. Colorado Springs, Co: BSCS, 5, 88-98.
Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model: A Proposed 7E Model emphasizes “Transfer of Learning” and the importance of Eliciting Pior Understanding. The Science Teacher, 70(6). 56-59.
Kulgemeyer, C., & Schecker, H. (2013). Students explaning science – assessment pf science communication competence. Research in Science Education. 43(6), 2235-2256.
Lubiano, M. L. D., & Magpantry, M. S. (2021). Enhanced 7E Instructional Model towards enriching science inquiry skills. International Journal of Research in Education and Science (IJRES), 7(3), 630-658. https://doi.org/10.46328/ijres.1963
Mapstone, L. M., & Kuchel, L. (2017). Core skills for effective science communication: A teaching resource for undergraduate science education. International Journal of Science Education, Part B: Communication and Public Engagement, 7(2), 181-201. https://doi.org/10.1080/21548455.2015.1113573
Metusalem, R., Belenky, D., & DiCerbo, K. (2017). Skills for today: what we know about teaching
and assessing communication. In: London: Pearson.
O’Hair, D., Wiemann, M., Mullin, D. I., & Teven, J. (2021). Real communication: An introduction (5th edition). Boston, MA: Bedford/St. Martin’s.
TeachThought. (2012). 4 Benefits to Cloud-Based Lerning. http://www.teachthought.com/technology/4-benefits-to-cloud-based-learning
Tsabari B. & Lewenstein, B. V. (2013). An instruments for assessing Scientists’ Written skills in Public Communication of science. Science Communication, 35(1), 56-85.
Ullman, D. F., & Haggerty, B. (2010). Embracing the Cloud: Six ways to look at the shift to Cloud Computing. Educause Quarterly, 33(2), n2.
Wodaj, H., & Belay, S. (2021). Effects of 7E instructional model with metacognitive scaffolding on student’s conceptual understanding in biology. Journal of Education in Science, Environment and Health (JESEH), 7(1), 26-43. https://doi.org/10.21891/jeseh.770794

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.