การบริหารจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ศิวภรณ์ สองแสน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นวลนภา จุลสุทธิ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะรัฐประศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.20

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต, การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน, การเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

       วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อปรับระบบการบริหารเพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 3) เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ผู้บริหารและคณะกรรมการคลังหน่วยกิต จำนวน 25 คน บุคลากรหน่วยงานภายนอก จำนวน 140 คน การเข้าร่วมใช้ระบบการเรียนรู้โดยผ่านการเข้าร่วมหลักสูตรการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 215 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 260  คน ผลดังนี้ 1.) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 5 ปี จำนวน 1 ฉบับ จัดระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามข้อบังคับการดำเนินงานคลังหน่วยกิต ในระดับอุดมศึกษา และข้อบังคับการเทียบโอนหน่วยกิต ผลการเรียน ผลลัพธ์การเรียนรู้ และการเทียบโอนประสบการณ์ในระบบคลังหน่วยกิต 2.) ระบบกลไกขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่ายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 51 เครือข่าย คู่มือดำเนินงาน 1 ฉบับ ระบบสารสนเทศการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1 ระบบ  และ 3.) จำนวนบุคลากรเตรียมความพร้อมในการจัดทำหลักสูตรส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 215 คน หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 20 หลักสูตร บนฐานข้อมูลระบบสารสนเทศในการประชาสัมพันธ์ ทดลองนำร่อง 5 หลักสูตร กับบุคคลทั่วไปในท้องถิ่น มีจำนวนผู้อบรม 260 คน

References

ภาษาไทย

ดุษณี คำมี. (2557). การศึกษาตลอดชีวิต : พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567. จาก Digital File Mahidol R2R e-Journal. doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/…

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิตย์ ซาชิโย. (2555). รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง. วารสารวิจัย มข, 2(3), 283-297.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2565). การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก. https://www.nxpo.or.th/th/report/9519/

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฬาฏอนี. 14(26), 167-179.

ภาษาอังกฤษ

UNESCO. (2024). UNESCO Global Network of Learning Cities. Institute for Lifelong Learning.

Pollasee, S. (2006). Networked learning community development. (In Thai). 2nd edition Bangkok: Odeon Store.

R.H..Dave. (1976). Foundations of Lifelong Education. Studies in Lifelong Education. Oxford: UNESCO Institute for Education and Pergamon Press.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Cropley A. J., & Dave R. H. (1978). Lifelong education and the training of teachers: Developing a Curriculum for teacher education on the basis of the principles of lifelong Education. Oxford: Pergamon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

สองแสน ศ., & จุลสุทธิ น. . (2024). การบริหารจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(2), EDUCU5202003. https://doi.org/10.14456/educu.2024.20