ผลการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กุลชาติ พันธุวรกุล สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • เมษา นวลศรี สาขาวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • คันธรส ภาผล สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.21

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกอบรม, ครูผู้ดูแลเด็ก, การจัดการเรียนรู้, เอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่โปรแกรมการฝึกอบรม แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Wilcoxon matched pairs signed-rank test และสูตรคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) หลังใช้โปรแกรมการฝึกอบรม ครูผู้ดูแลเด็กมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ตามการรับรู้สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังใช้โปรแกรมการฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็กมีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของที่เสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีจำนวนความถี่พฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นในทุกรายการ อยู่ระหว่างร้อยละ 26.66 - 80.00 และ 3) หลังการฝึกอบรม ครูผู้ดูแลเด็กมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.22, SD = 0.18) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฝึกอบรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กปฐมวัย สามารถนําไปใช้ในการเสริมสร้างความรู้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสร้างความพึงพอใจให้แก่ครูผู้ดูแลเด็กได้

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูประจาการด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิพรรณ จาติเสถียร, กันตวรรณ มีสมสาร, และ อภิรดี ไชยกาล. (2560). การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย. สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์. (2561). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(1), 360-361.

ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 18-32.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

พระมหาสุวัฒน์ กิตฺติเมธี (คงยืน) และ สมควร นามสีฐาน. (2565). บทบาทครูในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุข. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 588-595.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พุทธศักราช 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56ก. หนา 5-7, 12-14.

รุจิรัตน์ บัวลา. (2546). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมครูเรื่องการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางสมอง ในการจัดการเรียนการสอนชั้นเด็กวัยอนุบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันอาร์แอลจี [รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป]. (2558). EF กับการปฏิรูปการศึกษา. ใน ModernMom Focus. 1(5): 14-17.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559. วีทีซี คอมมิวนิเคชัน.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. (2564). ข้อมูลครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี.

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร. (2544). รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ภาษาอังกฤษ

Childcare Aware of America. (2012, October 13). Executive function skills lacking. More training is needed for providers. https://info.childcareaware.org/blog/executive-function-training-needed

Heckman, J. J. (2011). The economics of inequality: The value of early childhood education.

American Educator, 35(1), 31-47. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ920516.pdf

Hohmann, M., & Weikart, D. P. (1995). Educating young children. High/Scope Press.

McClelland, M. M., Acock, A. C., & Morrison, F. J. (2006). The impact of kindergarten learning-related skills on academic trajectories at the end of elementary school. Early Childhood Research Quarterly, 21(4), 471–490. https://doi.org/10.1016/j.ecresq.2006.09.003

Sasser, T. R., & Bierman, K. L. (2012). The role of executive functions skills and self-regulation behaviors in school readiness. Addison-Wesley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

พันธุวรกุล ก., นวลศรี เ. ., & ภาผล ค. . (2024). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(2), EDUCU5202004. https://doi.org/10.14456/educu.2024.21