ผลการเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงออกแบบของเด็กวัยอนุบาลโดยใช้การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติร่วมกับแนวคิดลูสพารตส์

ผู้แต่ง

  • Somrutai Siribunchu Burapha University
  • ศิรประภา พฤทธิกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เชวง ซ้อนบุญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.14

คำสำคัญ:

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติ, แนวคิดลูสพารตส์, ความสามารถในการคิดเชิงออกแบบ, เด็กวัยอนุบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติร่วมกับแนวคิดลูสพารตส์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงออกแบบของเด็กวัยอนุบาลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยอนุบาล อายุ 4-5 ปี จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม การทดลองใช้เวลาครั้งละ 45 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 5 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำและกำหนดสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นสำรวจและกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นดำเนินกิจกรรมและสร้างสรรค์ชิ้นงาน และ 4) ขั้นสรุปและสะท้อนความคิด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติร่วมกับแนวคิดลูสพารตส์ และแบบประเมินความสามารถในการคิดเชิงออกแบบของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติร่วมกับแนวคิดลูสพารตส์ มีค่าเท่ากับ 0.7099 แสดงว่าเด็กวัยอนุบาลมีการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงออกแบบ 0.7099 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.99 2) เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถในการคิดเชิงออกแบบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติร่วมกับแนวคิดลูสพารตส์สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงออกแบบสำหรับเด็กวัยอนุบาลได้

References

ภาษาไทย

กมลวรรณ ศรีสำราญ และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2562). ผลการใช้กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมายที่มีต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(2), 34-47.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทร์เพ็ญ ไชยมงคล และ ปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 468-484.

ณัฏฐ์ชญา หอมจัด. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของ Williams. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. (2562). การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วาทินี บรรจง. (2556). ผลของการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีณา ประชากูล. (2557). ผลการเล่นวัสดุปลายเปิดที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิลักษณ์ ขยันกิจ และ ธันยา พิทธยาพิทักษ์. (2564). คู่มือ สื่อ เล่น สร้าง เพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตร

การศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563. กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. https://www.trueplookpanya.com/education/content/66054/-teaartedu-teaartteaarttea.

ภาษาอังกฤษ

Arnheim, R. (1983). A study of composition in the visual arts. Journal of Aesthetics and Art Criticism, 41(4), 448-450.

Brown, T. (2008). Design thinking. Harvard Business Review, 86(6), 84-92.

Brown, T. (2009). Change by design. Harper Collins.

Cross, N. (2006). Designerly ways of knowing. Springer Verlag.

Lawson, B. (2012). What designers know. Routledge.

Marnfah, Rd. (2017). Summary of meanings methods and knowledge related to design thinking. https://medium.com/marnfahhh/.

Peterson, H. T. (1958). Kindergarten the key to child growth. Exposition Press.

Ramli, F. M. (2020). An exploration of thematic sketch through visual arts activities towards the preschool children. Southeast Asia Early Childhood Journal, 9(2), 132-134.

Simon, N. (1970). How not to cheat children the theory of loose parts. Landscape Architecture Journal, 62(1), 30-34.

Simon, A. (2009). Understanding the natural and artificial worlds. In H. B. Clark & D. E. Brody (Eds.), Design Studies A Reader (pp. 106-109). Oxford Berg.

Stanford Design School. (2010). bootcamp bootleg. https://static1.squarespace.com/static/57c6b79629687fde090a0fdd/t/58890239db29d6cc6c3338f7/1485374014340/METHODCARDS-v3-slim.pdf.

Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. Prentice Hall.

Vanada, D. (2014). Practically creative the role of design thinking as an improved paradigm for 21st century art education. Techne Series, 21(2), 21–33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

Siribunchu, S., พฤทธิกุล ศ., & ซ้อนบุญ เ. (2024). ผลการเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงออกแบบของเด็กวัยอนุบาลโดยใช้การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามมิติร่วมกับแนวคิดลูสพารตส์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), EDUCU5201014. https://doi.org/10.14456/educu.2024.14