การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีบูรณาการสอนของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • Fatin Hayihama Songkhla Rajabhat University
  • จุไรศิริ ชูรักษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • นิสิตา ฤทธาภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.13

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, วิธีบูรณาการสอนของเมอร์ด็อค (MIA), เทคนิคผังกราฟิก, ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีบูรณาการสอนของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) จำนวน 26 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
My hometown หน่วยการเรียนรู้ย่อย เรื่อง Places จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบ วัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทยจำกัด

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

รฐา แก่นสูงเนิน. (2558). การพัฒนาการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์.

[การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/

?mode=full

โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง). (2564). แบบบันทึกผลการพัฒนาผู้เรียนรายวิชาภาษาต่างประเทศ. โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง).

วราภรณ์ พูลสวัสดิ์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบ MIA เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/249/1/62920227.pdf

วัสมน กฤษกลาง. (2563). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของ Murdoch (MIA) ร่วมกับแผนผังกราฟิก. วารสารราชพฤกษ์. 18 (3), 112-119.

ภาษาอังกฤษ

Bernhardt, Traci Michelle. (2010). Using graphic organizers to enhance reading comprehension (UMI No. 1481092) [Master’s thesis, University of California, Davis]. ProQuest Dissertations Publishing.

Murdoch, G.S. (1986). A More Integrated Approach to the Teaching of Reading. English Teaching Forum, 34 (1), 9-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

Hayihama, F., ชูรักษ์ จ., & ฤทธาภิรมย์ น. (2024). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีบูรณาการสอนของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), EDUCU5201013. https://doi.org/10.14456/educu.2024.13